Title | การจำลองแบบ การออกแบบ การสังเคราะห์และการทดสอบฤทธิ์ทางชีวภาพของสารออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งที่มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นเอซาแนพโธควิโนนที่ต่ออยู่กับวงไธโอฟีน |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2560 |
Authors | นิภาวรรณ พองพรหม, พรพรรณ พึ่งโพธิ์ |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | RS190.B55 น627ก 2560 |
Keywords | การทดสอบยา, การวิเคราะห์ยา, ผลิตภัณฑ์ชีวภาพ, สารออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็ง, สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ, สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ -- การสังเคราะห์ |
Abstract | โครงงานวิจัยนี้ศึกษาการจำลองแบบ การออกแบบ การสังเคราะห์และการทดสอบฤทธิ์ของสารออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งที่มีโครงสร้างพื้นฐานเป็นเอซาแนพโธควิโนนต่อกับวงพิวโรลที่สามารถออกฤทธิ์ยับยั้งเซลล์มะเร็งปากมดลูกได้เป็นอย่างดี โดยศึกษาการจำลองแบบและการออกแบบโมเลกุลเป้าหมายด้วยระเบียบวิธีการออกแบบโมเลกุลด้วยการคำนวณ (Computer-Aided Molecular Design) บนพื้นฐานของเคมีควอนตัม (Quantum Chemistry) และการจำลองแบบ (Molecular Modelling) เพื่อศึกษาสมบัติทางโครงสร้างของสารออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งของสารในกลุ่มนี้ เพื่อให้ได้สารใหม่ที่มีให้มีศักยภาพสูงขึ้นในการยับยั้งกระบวนการสังเคราะห์ดีเอ็นเอและลดผลข้างเคียงที่มีต่อเซลล์ อย่างไรก็ตามในกระบวนการสังเคราะห์โครงสร้างหลักที่ต่อกับวงไธโอฟีนไม่ประสบความสำเร็จ จึงเปลี่ยนแผนการสังเคราะห์เป็นโครงสร้างหลักที่ต่อกับวงไตรเอซีน ไธโอนแทน โดยกระบวนการสังเคราะห์เริ่มต้นจากการทำปฏิกิริยาออกซิเดชันของ 5-ไฮดรอกซีไอโซควิโนลีน (3)กับกรดไฮโดรคลอริกเข้มข้นที่มีกรดไนตริกเข้มข้นเป็นตัวออกซิไดซ์ที่อุณหภูมิ 80-90 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 1 ชั่วโมง พบว่าได้ผลิตภัณฑ์ คือ 6,7-ไดคลอโรไอโซควิโนลีน-5,8-ไดโอน (4) ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลือง จากนั้นทำปฏิกิริยาการปิดวงด้วยไธโอเซมิคาร์บาไซด์ โดยมีกรดไฮโดรคลอริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวทำละลายเป็นเอทานอล ที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 8 ชั่วโมง พบว่า เกิดการควบแน่นเข้าที่ตำแหน่งคาร์บอนิลทั้งสองตำแหน่ง ได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารหมายเลข 5 ลักษณะเป็นของแข็งเขียวอมน้ำตาล หลังจากนั้นทำปฏิกิริยาอัลคิลเลชันกับสายโซ่ที่มีความยาวสองและสามคาร์บอนโดยมีปลายสายโซ่เป็นหมู่เอมีน พบว่า ได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารหมายเลข 6 ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลืองส้ม ปฏิกิริยาการปิดวงด้วยไธโอเซมิคาร์บาไซด์ โดยมีเบสโปแทสเซียมคาร์บอเนตเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวทำละลายเป็นเอทานอล พบว่า เกิดการควบแน่นเข้าที่ตำแหน่งคาร์บอนิลทั้งสองตำแหน่งได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารหมายเลข 7 หลังจากนั้นทำปฏิกิริยาอัลคิลเลชันกับสายโซ่ที่มีความยาวสองและสามคาร์บอนโดยมีปลายสายโซ่เป็นหมู่เอมีน พบว่า ได้ผลิตภัณฑ์เป็นสารหมายเลข 8 ลักษณะเป็นของแข็งสีเหลืองส้ม สารทั้งหมดออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งในระดับปานกลางถึงดี |
Title Alternate | Molecular modeling, design, synthesis and biological evaluation of azanaphthoquinone annelated thiophene derivatives as cytostatic compounds |