การใช้ประโยชน์จากไขที่สกัดจากใบกะหล่ำปลีคัดทิ้งสำหรับการเคลือบผิวหน้าผักและผลไม้สด

Titleการใช้ประโยชน์จากไขที่สกัดจากใบกะหล่ำปลีคัดทิ้งสำหรับการเคลือบผิวหน้าผักและผลไม้สด
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2560
Authorsนิตยา ภูงาม
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP น577 2560
Keywordsกะหล่ำปลี, การสกัดไขมันด้วยวิธีแบบเย็น, การเคลือบผิวผลไม้, การเคลือบผิวผัก, ผลไม้ -- การเคลือบผิว, ผัก -- การเคลือบผิว, สารเคลือบผิว
Abstract

การสูญเสียน้ำหนักและการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอื่น ๆ เช่น ลักษณะปรากฏที่เหี่ยวย่นเป็นปัญหาสําคัญของการจัดการคุณภาพของผักและผลไม้สดภายหลังการเก็บเกี่ยวสารเคลือบผิวได้ถูกนํามาใช้เพื่อชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพดังกล่าว งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสารเคลือบผิวจากไขสกัดใบกะหล่ำปลีคัดทิ้ง ไขจากใบกะหล่ำปลีได้รับการสกัดด้วยวิธีการจุ่มในตัวทําละลายไดคลอโรมีเทน โดยไขที่สกัดได้มีสมบัติด้านทางเคมี-กายภาพจากการวัดค่าความเป็นกรด ค่าไอโอดีน และค่าซาปอนิฟิเคชัน ใกล้เคียงกับไขเชิงพาณิชย์อื่น ๆ ไขสกัดจากใบกะหล่ำปลีมีแนวโน้มการเกิดกลิ่นเหม็นหืนช้า มีจุดหลอมเหลวกว้าง (49-58ºC) และมีสมบัติเทอโมพลาสติก การวิจัยนี้ได้ทดสอบ การเคลือบผิวหน้ามะนาวและกระเจี๊ยบเขียวด้วยสารเคลือบผิวดังกล่าว พบว่า สมบัติการยอมให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำซึมผ่านผิวของผลิตผลมีค่าลดลงอย่างมีนัยสําคัญ (p≤0.05) เมื่อเปรียบเทียบกับผลิตผลที่ไม่ผ่านการเคลือบผิว ไขที่สกัดได้ถูกนํามาพัฒนาเป็นสารเคลือบผิวในรูปของสารละลายอิมัลชัน ประกอบด้วย ไขสกัดจากใบกะหล่ำปลี สารไตรเอทานอลเอมีน และน้ำกลั่น การ วิจัยนี้ได้ศึกษาสมบัติบางประการของสารเคลือบผิวความเข้มข้น 10-50% (w/v) พบว่า ความเข้มข้นของสารเคลือบผิว 10-30% (w/v) มีความคงตัวของสารละลายอิมัลชันสูงสุด จึงนําสารละลายเหล่านี้ มาทดสอบสมบัติของฟิล์มที่ขึ้นรูป ผลการศึกษาแสดงให้ทราบว่าพบว่า ความหนา การดูดซับน้ำ อุณหภูมิหลอมเหลว (Tm) และการต้านทานแรงดึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเมื่อความเข้มข้นของสารละลาย เพิ่มขึ้น แต่ความสว่างของฟิล์มและการยืดตัวของฟิล์มมีค่าที่ลดลง ทั้งนี้สมบัติการยอมให้ไอน้ําและ ก๊าซออกซิเจนซึมผ่านฟิล์มมีค่าลดลงเมื่อความเข้มข้นของไขสกัดเพิ่มขึ้น จากผลการทดลองดังกล่าว พบว่าสารละลายความเข้มข้น 10% (w/v) มีความเหมาะสมในการนํามาใช้เป็นสารเคลือบผิวผักและผลไม้ นอกจากนี้กา รวิจัยนี้ได้ศึกษาผลของสารเคลือบผิวความเข้มข้น 10% (w/v) (CB-wax) ต่อคุณภาพของพริกหวานสด เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 10ºC เป็นเวลา 21 วัน เปรียบเทียบกับพริกหวานสดที่เคลือบผิวด้วยสารละลายไคโตซาน (Chitosan) และไม่เคลือบผิวหน้า (Control) ผลการศึกษาแสดง ให้ทราบว่า พริกหวานสดที่เคลือบผิวหน้าด้วยทั้ง CB-wax และ Chitosan มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะ ปรากฏภายนอกเพียงเล็กน้อย ในขณะที่ผลิตผล Control เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนและเกิด การเจริญของเชื้อจุลินทรีย์ภายหลังจากการเก็บรักษา 5 วัน การเคลือบผิวทั้งสองประเภทให้ผลต่อคุณภาพไม่แตกต่างกันและสามารถชะลอการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางเคมี-กายภาพ ประกอบด้วยความ แน่นเนื้อ ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ ปริมาณกรดที่ไทเทรตได้ อัตราการหายใจ ความเข้มข้นของเอทานอลในเนื้อเยื้อ การสะสมก๊าซออกซิเจนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเอทานอลในเนื้อเยื่อของพริกหวานสด ทั้งนี้พริกหวาน สดที่ไม่ผ่านการเคลือบผิวมีการเปลี่ยนแปลงสมบัติเหล่านี้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะมีการสะสมเอทานอลในเนื้อเยื่อปริมาณที่สูงมาก ในภาพรวมการวิจัยนี้ได้ประสบความสําเร็จในการพัฒนาสารเคลือบผิวผักและผลไม้จากไขสกัดใบกะหล่ำปลีคัดทิ้ง ซึ่งเป็นนวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่สารเคลือบผิวนี้มีศักยภาพในการชะลอการเปลี่ยนแปลงคุณภาพหลังการเก็บเกี่ยวของผลิตผลสด และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับใบกะหล่ำปลีคัดทิ้งได้

Title Alternate Utilization of extracted wax from discarded cabbage leaves for surface coating of fresh fruits and vegetables