เซลล์พันธุศาสตร์ของปาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Titleเซลล์พันธุศาสตร์ของปาดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsพิทักษ์ สีดา
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberQL พ673 2561
Keywordsสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ, เซลล์พันธุศาสตร์, โครโมโซม
Abstract

การศึกษาเซลล์พันธุศาสตร์ของปาด 3 ชนิด คือ ปาดบ้าน (Polypedates leucomystax) ปาดแคระป่า (Philautus parvulus) และปาดเหนือ (Polypedates mutus) ที่เก็บตัวอย่างจากแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติเพื่อศึกษาไมโตติกโครโมโซมจากเซลล์ไขกระดูกโดยใช้วิธี in vivo colchicine treatment จากนั้นย้อมแถบโครโมโซมแบบจี (G-banding) แบบซี (C-banding) และแบบนอร์ (NOR-banding) ผลการศึกษาพบว่า ปาดทั้ง 3 ชนิด มีจํานวนโครโมโซม (2n) เท่ากับ 26 และมีคาริโอไทป์ประกอบด้วย โครโมโซมขนาดใหญ่จํานวน 5 คู่ และโครโมโซมขนาดเล็กจํานวน 8 คู่ เหมือนกันทั้ง 3 ชนิด เมื่อวิเคราะห์ตําแหน่งของ secondary constriction พบว่าปาดบ้านมีตําแหน่งของ secondary constriction ที่บริเวณแขนยาวของโครโมโซมคู่ที่ 6 และปาดแคระป่าพบที่บริเวณ แขนยาวของโครโมโซมคู่ที่ 6 และคู่ที่ 7 แต่ไม่พบตําแหน่ง secondary constriction ในปาดเหนือ การย้อมแถบแบบซี พบว่าปาดทั้ง 3 ชนิด ติด c-positive ที่ตําแหน่งของ centromere คล้าย ๆ กัน ส่วนการย้อมแถบแบบนอร์ในปาดบ้านพบตําแหน่งนอร์ 1 ตําแหน่ง คือ บริเวณแขนสั้นโครโมโซมคู่ที่ 12 ปาดแคระป่าพบตําแหน่งนอร์ 2 ตําแหน่ง คือ บริเวณแขนยาวโครโมโซมคู่ที่ 6 และคู่ที่ 7 และในปาดเหนือพบตําแหน่งนอร์ 2 ตําแหน่ง คือ บริเวณแขนสั้นโครโมโซมคู่ที่ 1 และคู่ที่ 4 การศึกษาในครั้ง นี้ไม่พบความแตกต่างของโครโมโซมเพศในปาดทั้ง 3 ชนิด ข้อมูลที่เกี่ยวกับรูปร่างโครโมโซมและคาริโอไทป์ของปาดทั้ง 3 ชนิดนี้ มีความอนุรักษ์ค่อนข้างสูง (quite conserved) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิวัฒนาการของสัตว์กลุ่มนี้ต่อไปในอนาคต

Title Alternate Cytogenetics of tree frogs in Northeastern Region of Thailand
Fulltext: