การเปลี่ยนแปลงสมบัติการยอมให้ก๊าซออกซิเจนซึมผ่านของฟิล์มพลาสติกที่สัมพันธ์กับปริมาณไขมันที่ถูกดูดซับจากข้าวกล้องงอกและข้าวฮางงอกในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ

Titleการเปลี่ยนแปลงสมบัติการยอมให้ก๊าซออกซิเจนซึมผ่านของฟิล์มพลาสติกที่สัมพันธ์กับปริมาณไขมันที่ถูกดูดซับจากข้าวกล้องงอกและข้าวฮางงอกในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsนิตยา ภูงาม
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP น577ก
Keywordsข้าวกล้องงอก -- การจัดเก็บและรักษา, ข้าวฮางงอก -- การจัดเก็บและรักษา, บรรจุภัณฑ์สุญญากาศ, พลาสติกในการบรรจุหีบห่อ, ฟิล์มพลาสติก, ฟิล์มพลาสติก -- เคมี -- องค์ประกอบ, อาหาร -- การบรรจุหีบห่อ
Abstract

แม้ว่าการบรรจุสุญญญากาศด้วยฟิล์มพลาสติกสามารถชะลอการเสื่อมเสียของข้าวกล้องงอกและข้าวฮางงอกจากปฏิกิริยาออกซิเดชันได้ แต่การซึมผ่านของออกซิเจนเข้าสู่บรรจุภัณฑ์ข้าวเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลให้เกิดความเสื่อมเสียโดยเฉพาะการเกิดกลิ่นเหม็นหืนและการเจริญของมอดข้าวสาร จากสมมุติฐานการทดลองหากไม่มีรอยรั่วของรอยปิดผลึกของฟิล์มพลาสติกการเพิ่มขึ้นของออกซิเจนในถุงสุญญากาศอาจมรผลมาจากการเพิ่มขึ้นของสมบัติการยอมให้ก๊าซออกซิเจนซึมผ่านฟิล์มพลาสติก (Film permeability to oxygen; FPO) เนื่องมาจากการดูดซับไขมันของฟิล์มพลาสติกจากข้าวซึ่งการศึกษาครั้งนี้เป็นการทดสอบการดูดซับไขมันจากข้าวกล้องงอกและข้าวฮางงอก โดยมีการบรรจุข้าวด้วยสภาวะบรรจุแบบสุญญากาศในถึงฟิล์มพลาสติก Low Density Polyethylene (LDPE) และ Nylon/PE เก็บรักษาที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 120 วัน ผลการทดลองแสดงให้ทราบว่าน้ำหนักของฟิล์มทั้งสองเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากการดูดซับไขมันจากข้าว น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นมีความแตกต่างกับฟิล์มที่ไม่ได้สัมผัสกับข้าวซึ่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนัก โดยน้ำหนักของฟิล์ม Nylon/PE เพิ่มขึ้นมากกว่าน้ำหนักของฟิล์ม LDPE ประมาณ 3 เท่า ทั้งนี้ผิวหน้าของฟิล์มบริเวณสัมผัสกับข้าวมีลักษณะปรากฏของคราบของน้ำมัน ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ผิวหน้าของฟิล์มด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่า มีลักษณะของหยดไขมันกระจายตัวอยู่บริเวณผิวหน้าของฟิล์มเมื่อทำการทดสอบการเปลี่ยนแปลงของ FPO ซึ่งวัดด้วยเครื่อง Oxygen Permeation Analyzer และมีการรายงานผลด้วยค่า Oxygen transmission rate (OTR) จากการทดสอบพบว่าค่า OTR ของฟิล์มพลาสติก Nylon/PE มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่เพิ่มขึ้นและมีความสัมพันธ์แบบเส้นตรงกับการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักของฟิล์มซึ่งสัมผัสกับข้าวทั้งสองประเภท โดยการเปลี่ยนแปลงค่า OTR อาจเป็นผลจากการดูดซับไขมันจากข้าวซึ่งทำหน้าที่เป็น Plasticizer ที่ช่วยในการแพร่ของออกซิเจนในโครงสร้างพอลิเมอร์อันเป็นผลจากการขยายปริมาตรช่องว่างในโครงสร้างพอลิเมอร์ของฟิล์ม อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงค่า OTR ของฟิล์ม LDPE ไม่มีแนวโน้มที่ชัดเจน ซึ่งการศึกษานี้ได้คำนวณอัตราการซึมผ่านของออกซิเจนต่อหน่วยพื้นที่ (Flux of oxygen permeation) ในฟิล์ม Nylon/PE โดยคำนวณจากค่า OTR และองค์ประกอบอื่น ๆ ของบรรจุภัณฑ์ข้าวพบว่า มีค่าเพิ่มขึ้นในระหว่างการเก็บรักษาซึ่งอาจเป็นเหตุผลสำคัญที่สนับสนุนสมมติฐานว่าการดูดซับไขมันของข้าวเข้าสู่ฟิล์มพลาสติกส่งผลให้ก๊าซออกซิเจนเพิ่มขึ้นภายในบรรจุภัณฑ์สุญญากาศของข้าวในระหว่างการเก็บรักษาพบว่าปริมาณไขมันลดลงอย่างต่อเนื่องแต่ค่าเพอร์ออกไซด์ (Peroxide Value, PV) มีค่าเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะค่าเพอร์ออกไซด์ของข้าวที่เก็บรักษาในถุงฟิล์ม LDPE มีแนวโน้มสูงกว่าค่าเพอร์ออกไซด์ของข้าวที่เก็บรักษาในถุงฟิล์ม Nylon/PE ในขณะที่ข้าวมีสีคล้ำเพิ่มขึ้นเล็กน้อยและเมื่อนำข้าวมาหุงสุกหลังจากนั้นวิเคราะห์เนื้อสัมผัสพบว่าค่าความแข็งของข้าวเพิ่มขึ้นตลอดอายุการเก็บรักษาโดยไม่มีความแตกต่างระหว่างชนิดของข้าวและชนิดของฟิล์มบรรจุภัณฑ์

Title Alternate Changes in plastic film permeability to oxygen as a function of fat contents absorbed from germinated brown and parboiled germinated rice in vacuum package