การศึกษาวนเกษตรในระดับเกษตรกรและชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง

Titleการศึกษาวนเกษตรในระดับเกษตรกรและชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2556
Authorsวัลลภ จันดาเบ้า
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberS ว447 2556
Keywordsชุมชนเพื่อการพึ่งตนเอง, วนเกษตร
Abstract

ประเทศไทยในอดีต มีความอุดมสมบูรณ์ในด้านการทำกสิกรรม จากการพัฒนาที่เน้นด้านเศรษฐกิจภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและชุมชน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการพึ่งตนเอง วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการปลูกป่าที่เหมาะสม 2) พัฒนารูปแบบวนเกษตรที่เหมาะสม 3) ส่งเสริมการประกอบอาชีพตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นการศึกษาที่ใช้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ 96 ราย ข้อมูลเชิงประจักษ์ 96 ราย และข้อมูลเชิงคุณภาพจำนวน 57 ราย จากจำนวนผู้ให้ข้อมูล 96 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจและสังคม ด้านทัศนคติ ด้านการจัดการ และด้านการยอมรับ ดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2552-2554
จากการศึกษาวิจัย พบว่า แนวทางการบริหารการปลูกป่าที่เหมาะสม รูปแบบบุคลลจำนวน 2 แห่ง รูปแบบชมุชนจำนวน 1 แห่ง และรูปแบบองค์กรจำนวน 2 แห่ง ที่มีการเชื่อมโยงกับภาครัฐ ราชการและหน่วยงานเอกชนที่เกี่ยวข้องมาก่อนอย่างน้อย 20 ปี ผลการวิจัยพบว่า เกษตรกรที่ทำวนเกษตรส่วนใหญ่เป็นชาย และไม่ได้เรียนหนังสือ มีที่ดินถือครองเฉลี่ย 20-50 ไร่ ซึ่งอาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติและน้ำฝนเป็นหลัก โดยรูปแบบบุคคลและรูปแบบชุมชน ต้องการปลูกป่าตามหัวไร่ปลายนา เป็นส่วนหนึ่งของการปลูกป่าของตนหรือของชุมชนให้ชัดเจน ส่วนรูปแบบองค์กรให้มีการสนับสนุนช่วยเหลือกันและกัน เช่น สหกรณ์ โดยมีการสนับสนุนงบประมาณ หรือวัสดุอื่น ๆ ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ คือ น้ำเพื่อการเกษตร ราคาสินค้าเกษตรไม่คงที่ รายได้เฉลี่ยต่อปีประมาณ 50,000-100,000 บาท รับรู้ข่าวสารดูแลรักษาป่าส่วนใหญ่จากโทรทัศน์ ส่วนการให้ความร่วมมือทำกิจกรรมพัฒนาการปลูกรักษาในท้องถิ่นมีมากกว่า 6 ครั้งต่อปี เกษตรกรมีทัศนคติเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง คือ ป่าของเกษตรกรเป็นของครอบครัว ส่วนป่าชุมชนเป็นของส่วนรวมต้องช่วยกันปลูกและดูแลรักษาเพื่อได้ประโยชน์ร่วมกันตลอดไป วนเกษตรเป็นแหล่งอาหารและยารักษาโรค เกษตรกรเห็นว่า ไม่ควรกำหนดกฎหมาย พระราชบัญญัติป่าไม้กับครอบครัวผู้ปลูกป่าในพื้นที่ของเกษตรกรอันยังประโยชน์แก่ส่วนรวมร่วมกัน ด้านพฤติกรรม พบว่า เกษตรกรเข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับการอนุุรักษ์ป่าอย่างสม่ำเสมอ มีแนวความคิดในการสร้างบำนาญชีวิตให้แก่ลูกหลาย โดยการปลูกป่าวนเกษตรทั้งในส่วนในไร่นาของเกษตรกร ต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนในด้านการจัดตั้งเป็นกลุ่มสหกรณ์ การจัดการฝึกอบีมและกำหนดทิศทางพัฒนาป่าอย่างต่อเนื่อง
วนเกษตรในระดับเกษตรกรและชุมชนเพื่อการพึ่งพาตนเองที่ค้นพบใหม่ (Onfarm Agroforestry Model) โดยกระบวนการจาก 3 รูปแบบ คือ รูปแบบบุคคล รูปแบุบชุมชน และรูปแบบองค์กรด้วยแนวคิดโดยหลักคิด ทฤษฎี และปฏิบัติสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ เป้าหมายคือ จากเดิมได้กำหนดสู่รูปแบบใหม่ ด้วยปัจจัยนำเข้า คือ บุคคล ชุมชน และองค์กร โดยกระบวนการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมตามหลักพุทธธรรม ขับเคลื่อนองค์ความรู้ด้วยไตรสิกขา ที่เป็นองค์รวมด้วยการปฏิบัติจนได้รับผลที่เกิดขึ้น คือ มรรคองค์ 8 แบบบูรณาการจนเกิดปัญญาพละ 4 ซึ่งมีผลตามมาและเกิดผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม ด้วยสัมมาอาชีวะจนก่อให้เกิดความสุข ความเจริญด้วยหลักพ้นภัย 5 ทำให้เกิดชีวิตที่ประเสริฐด้วยการพึ่งตนเองอย่างมีอิสระเสรีภาพ สันติภาพ ภารดรภาพ สมรรถภาพ และบูรณาภาพ อย่างพอเพียง มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน อันนำไปสู่ความยั่งยืนของเศรษฐกิจในครัวเรือนและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นได้

Title Alternate Study on agro-forestry for self-depend of farmer and communities