การศึกษาสถานภาพการผลิตและความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิตคุณภาพและปริมาณสาร capsaicin ในพริกพันธุ์การค้า กรณีศึกษา :จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ

Titleการศึกษาสถานภาพการผลิตและความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อผลผลิตคุณภาพและปริมาณสาร capsaicin ในพริกพันธุ์การค้า กรณีศึกษา :จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2549
Authorsวสุ อมฤตสุทธิ์, พรพิมล สุริยภัทร, รักเกียรติ แสนประเสริฐ
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
ISBN Number9745231347
Call NumberHD9235.P462T5 ว363
Keywordsพริก--การตลาด, พริก--การปลูก, พริก--การผลิต, พริก--แง่เศรษฐกิจ, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี
Abstract

การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการผลิต ปัญหาอุปสรรคในการผลิตพริก ต้นทุนการผลิตพริกพันธุ์การค้า และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับผลผลิต และปริมาณสาร capsaicin และต้นทุนการผลิตสาร capsaicin ในพริกพันธุ์การค้าของไทย โดยสำรวจจากพื้นที่ปลูกพริกในเขตจังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ จำนวน 55 ตำบลใน 18 อำเภอ พบว่า การปลูกพริกส่วนใหญ่ใช้เมล็ดพันธุ์ผสม มีแนวโน้มสูงมากขึ้น เกษตรกรนิยมเพาะเมล็ดประมาณช่วงกลางเดือนสิงหาคมถึงช่วงต้นของเดือนกันยายน โดยย้ายปลูกประมาณช่วงปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน เริ่มเก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคมจนถึงเดือนพฤษภาคม พันธุ์พริกที่เกษตรกรใช้ปลูก ได้แก่ จินดา หัวเรือ ช่อไสว ทองคำ ส้ม ยอดสน หัวเรือบ้านละทาย หัวเรือบ้านอีปาด เขียวบ้านทาม ดำอินโด และซุปเปอร์ฮอท พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มมีความสูงของพื้นที่จากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 150 เมตร ต้นทุนการผลิตพริกขึ้นอยู่กับลักษณะพฤติกรรมในการเก็บเกี่ยวพริกของเกษตรกร อันได้แก่ การเก็บพริกเขียว พริกแดง หรือพริกแห้ง ซึ่งการผลิตและเก็บเกี่ยวพริกแต่ละชนิดส่งผลให้เกิดความแตกต่างด้านแรงงาน และราคาของผลผลิต ต้นทุนผันแปรของการผลิตพริกมีมากกว่าร้อยะล 80

Fulltext: