Title | การวิเคราะห์ข้อมูลกล้ามเนื้อไฟฟ้ามดลูกโดยใช้การแปลงเวฟเล็ตไม่ต่อเนื่องสำหรับการจำแนกการคลอดก่อนกำหนด |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2561 |
Authors | จอมกัณฑ์ศักดิ์ เหมทานนท์ |
Degree | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า |
Institution | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | QA จ195 2561 |
Keywords | กล้ามเนื้อ -- การวัด -- เครื่องมือและอุปกรณ์, การคลอดก่อนกำหนด, การวัดกล้ามเนื้อ, การแปลงเวฟเล็ตไม่ต่อเนื่อง, เครื่องวัดสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ, เวฟเล็ต (คณิตศาสตร์) |
Abstract | การคลอดก่อนกำหนดเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญที่สุดปัญหาหนึ่งที่ซึ่งสามารถก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้ การคลอดก่อนกำหนดเป็นสาเหตุในลำดับต้น ๆ ของการเสียชีวิตของเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ขวบ สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อที่ตรวจวัดจากบริเวณหน้าท้องของหญิงตั้งครรภ์ ที่เรียกว่า สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อมดลูก เป็นสัญญาณทางสรีรวิทยาไฟฟ้าหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะของมดลูกและถูกนำไปประยุกต์ใช้เพื่อบ่งบอกถึงภาวะการคลอด ในวิทยานิพนธ์นี้ได้นำเสนอกระบวนการประมวลผลสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อมดลูกและการประยุกต์ใช้ในการจำแนกระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่คลอดก่อนกำหนดและกลุ่มตัวอย่างที่คลอดครบกำหนด ชุดข้อมูลสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อมดลูกซึ่งประกอบด้วย 300 ระเบียนข้อมูล ซึ่งแบ่งออกเป็นสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อมดลูกของกลุ่มตัวอย่างของหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดก่อนกำหนด จำนวน 38 ระเบียนข้อมูลและสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อมดลูกกลุ่มตัวอย่างของหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดครบกำหนดจำนวน 262 ระเบียนข้อมูลถูกศึกษา การแปลงเวฟเล็ตไม่ต่อเนื่องถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อแยกสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อมดลูกออกเป็นส่วนประกอบย่อยที่สัมพันธ์กับช่วงแถบความถี่ต่าง ๆ คุณลักษณะเฉพาะเชิงเวลาจำนวน 7 ค่าซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการสกัดคุณลักษณะเฉพาะของสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อถูกประยุกต์ใช้ในการสกัดคุณลักษณะเฉพาะของส่วนประกอบย่อยเวฟเล็ตของสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อมดลูก หลังจากนั้นคุณลักษณะเฉพาะเชิงเวลาของส่วนประกอบย่อยเวฟเล็ตของสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อมดลูกถูกลดจำนวนโดยอาศัยการคำนวณค่าทางสถิติและการเลือกคุณลักษณะเฉพาะซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีนเป็นตัวจำแนกที่ถูกนำมาใช้เพื่อจำแนกระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่คลอดก่อนกำหนดและกลุ่มตัวอย่างที่คลอดครบกำหนด การจำแนกระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่คลอดก่อนกำหนดและกลุ่มตัวอย่างที่คลอดครบกำหนดที่ดีที่สุดโดยอ้างอิงจากค่าผลคูณระหว่างค่าความไวและค่าจำเพาะได้รับจากการจำแนกระหว่างคุณลักษณะเฉพาะจำนวน 2 ค่าของส่วนประกอบย่อยเวฟเล็ตของสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อมดลูกที่ถูกบันทึกในระยะต้น ซึ่งมีความยาว 16384 จุด ความกว้างของหน้าต่าง 64 จุด และระยะการเลื่อนหน้าต่างเท่ากับ 64 จุด และถูกคัดเลือกโดยใช้ค่า p ที่ได้จาก t-test โดยค่าความถูกต้อง ค่าความไว ค่าจำเพาะ และค่าผลคูณระหว่างค่าความไวและค่าจำเพาะเท่ากับ 0.9383 0.5789 0.9860 และ 0.5709 ตามลำดับ |
Title Alternate | Discrete wavelet transform-based analysis of uterine electromyogram data for preterm birth classification |