ฤทธิ์ของสารสกัดหมาก มะขาม และคาวตอง ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini

Titleฤทธิ์ของสารสกัดหมาก มะขาม และคาวตอง ที่มีผลต่อการเคลื่อนไหวของพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2562
Authorsจารวี วรรณชาติ
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาชีวเวชศาสตร์
Institutionวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRC จ315ฤ 2562
Keywordsคาวตอง, พยาธิใบไม้ในตับ -- การรักษาและป้องกัน, มะขาม, หมาก, โรคพยาธิใบไม้ในตับ
Abstract

โรคพยาธิใบไม้ตับ เกิดจากการติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ Opisthorchis viverrini ซึ่งยังเป็นปัญหาที่สำคัญทางสาธารณสุข โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ปัจจุบันมีการนำสมุนไพรมาใช้เพื่อรักษาโรคต่าง ๆ กันอย่างกว้างขวาง การศึกษานี้จึงมุ่งศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากหมากมะขาม และคาวตอง ซึ่งคาดว่าน่าจะมีผลต่อการทำงานของกล้ามเนื้อและส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของพญาธิใบไม้ตับระยะตัวอ่อนและระยะตัวเต็มวัย ทั้งในหลอดทอลองและในสัตว์ทดลอง โดยการประเมินค่าร้อยละการเคลื่อนไหวของพยาธิใบไม้ตับระยะตับอ่อนในหลอดทดลอง ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสารสกัดหมากและคาวตอง ให้ผลดีในการลดการเคลื่อนไหวของพยาธิใบไม้ตับ จึงส่งผลไปสู่การศึกษาในสัตว์ทดลอง โดยศึกษาการออกไข่ของพยาธิใบไม้ตับ ด้วยวิธี Modified Formalin Technique และตรวจนับจำนวนของพยาธิใบไม้ตับระยะตัวเต็มวัยที่ได้จากสัตว์ทดลอง ศึกษาปริมาณของสารสื่อประสาทด้วยเครื่อง High-Performance Liquid Chromatography (HPLC) และศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานวิทยาด้วยเครื่อง Scanning Electron Microscopy (SEM) จากการศึกษษแสดงให้เห็นว่า สารสกัดหมากสามารถลดการออกไข่ที่ปนออกมากับอุจาระ และสามารถลดจำนวนของพยาธิใบไม้ตับระยะตัวเต็มวัยที่นับได้จากตับสัตว์ทดลองได้ดีที่สุด เมื่อวิเคราะห์หาปริมาณของสารสื่อประสาทจากพยาธิใบไม้ตับกลุ่มที่ได้รับสารสกัดคาวตอง พบปริมาณของสาร Dopamine มากกว่ากลุ่มที่ได้รับสารสกัดหมาก ส่วน Acetylcholine พบในปริมาณที่น้อยมาก และการศึกษาลักษณะสัณฐานทางวิทยา พบว่า ขนาดตัวและการเปลี่ยนแปลงของผิวพยาธิใบไม้ตับไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเนื่องจากสารสกัดที่ใช้ทดสอบทั้งหมดนี้ยังไม่ทราบถึงสารประกอบและกลไกที่มีผลต่อพยาธิเป็นที่แน่ชัด จึงควรจะต้องมีการศึกษาต่อไปในอนาคต

Title Alternate The effect of Areca catechul, Tamarindus indica linn and Houttuynia cordata thunb extracts on motility of Opisthorchis viverrini