การพัฒนานิโอโซมกักเก็บน้ำมันรำข้าวสำหรับนำส่งทางผิวหนัง

Titleการพัฒนานิโอโซมกักเก็บน้ำมันรำข้าวสำหรับนำส่งทางผิวหนัง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2562
Authorsชุดาณัฏฐ์ อัครชินวณิชย์
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาศาสตร์แห่งเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP ช613 2562
Keywordsนิโอโซม, น้ำมันรำ -- คุณสมบัติทางเคมี, น้ำมันรำข้าว, น้ำมันและไขมัน -- การวิเคราะห์, แกมมาโอไรซานอล
Abstract

น้ำมันรำข้าวเป็นสารจากธรรมชาติที่ได้จากวัสดุเศษเหลือจากการขัดสีข้าว น้ำมันรำข้าวเป็นสารอาหารที่มีคุณค่านับตั้งแต่ฤทธิ์ทางชีวภาพมีการเผยแพร่ สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายสารอาหารที่สำคัญ เช่น ไฟโตเทอรอล โทโคไตรอีนอล โทโคเฟอรอล กรดไขมันไม่อิ่มตัว ใยอาหาร วิตามิน เกลือแร่ มีสารสำคัญคือแกมมาออไรซานอล ที่สามารถต้านอนุมูลอิสระ ต้านริ้วรอย เพิ่มความชุ่มชื้นผิว ปกป้องผิวจากรังสียูวี ทั้งน้ำมันรำข้าวและออไรซานอลนำมาประยุกต์ใช้ในทางเภสัชกรรมและเครื่องสำอางได้ นาโนเทคโนโลยี ได้แก่ ไมโครอิมัลชัน ไมเซลล์ ลิโพโซม และนิโอโซม มีการนำมาใช้เพื่อเอาชนะการปิดกั้นของผิวหนังชั้นสตาตัมคอร์เนียม อย่างไรก็ตาม นาโนเทคโนโลยีมีข้อจำกัดเฉพาะในห้องปฏิบัติการเท่านั้น วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อพัฒนาน้ำมันรำข้าวกักเก็บนิโอโซมสำหรับเครื่องสำอางต้านริ้วรอย เน้นการขยายกำลังการผลิต เพื่อหากระบวนการผลิตที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรองรับอุตสาหกรรม น้ำมันรำข้าวกักเก็บนิโอโซมประกอบด้วยสัดส่วนที่คงที่ของสารลดแรงตึงผิวชนิดไม่มีประจุและคอเลสเตอรอล (1:1) และสารเพิ่มการซึมผ่านผิวหนังที่เตรียมโดยเครื่องคลื่นความถี่สูงชนิดโพรบและชนิดอ่าง มีการปรับเปลี่ยนค่าพารามิเตอร์กระบวนการผลิตต่าง ๆ (ระยะเวลาในการใช้คลื่นและปริมาณน้ำในรำข้าว) ศึกษาคุณลักษณะทางเคมีกายภาพของนิโอโซม เช่น ขนาดอนุภาค การกระจายขนาด ศักย์ซีตาร์ และการกักเก็บสารสำคัญ ศึกษาความคงสภาพของน้ำมันรำข้าวกักเก็บนิโอโซมที่ 51 องศาเซลเซียส นาน 120 วัน ผลการศึกษาบ่งชี้ว่า ขนาดอนุภาคของน้ำมันรำข้าวกักเก็บนิโอโซมเท่ากับ 100-300 นาโนโมตร ที่มีการกระจายขนาดน้อยกกว่า 1 สำหรับการใช้คลื่นความถี่สูงทั้งสองวิธี ศักย์ซีตาร์ของนิโอโซมทุกสูตรตำรับเป็นประจุลบ เมื่อพิจารณาคุณลักษณะทางเคมีกายภาพของนิโอโซม การศึกษานี้ค้นพบว่าเครื่องคลื่นความถี่สูงชนิดอ่างอาจใช้เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของสูตรตำรับนิโอโซมได้

Title Alternate Development of rice bran oil load niosome for transdermal delivery