Title | ปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2561 |
Authors | ทรรศิกานต์ โชติกเสถียร |
Degree | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ |
Institution | คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | JS ท157ป 2561 |
Keywords | การจัดซื้อจัดจ้าง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์การปกครองท้องถิ่น |
Abstract | การวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคจากการจัดซื้อจัดจ้างในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานี (2) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดซื้อจัดจ้างในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานีโดยศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุบลราชธานีได้แก่ เทศบาลนครอุบลราชธานีเทศบาลเมืองวารินชําราบ เทศบาลเมืองเดชอุดม เทศบาลเมืองพิบูลมังสาหาร องค์การบริหารส่วนตําบลเมืองเดช องค์การบริหารส่วนตําบลบัวงาม องค์การบริหารส่วนตําบลนาส่วง ซึ่งเก็บข้อมูลจากเอกสาร การสืบค้นข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้าง จํานวน 14 คน ผู้รับเหมาที่เคยยื่นการประมูล 5 คน นักกฎหมาย 5 คน โดยดําเนินการศึกษาและเก็บข้อมูลปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 คือ เดือนตุลาคม 2558 – เดือนกันยายน 2559 ผลการศึกษาพบว่า ปัญหาและอุปสรรคในการจัดซื้อจัดจ้างในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดอุบลราชธานีมี 2 ด้าน คือ ปัญหาด้านกฎระเบียบหรือข้อกฎหมายที่ต้องปฏิบัติได้แก่ (1) การกําหนดผู้มีคุณสมบัติเบื้องต้นในการจัดซื้อจัดจ้าง (2) การแต่งตั้งคณะกรรมการในการจัดซื้อจัดจ้าง (3) กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์ (4) การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง และ (5) การกําหนดราคากลาง และปัญหาด้านบุคคล ได้แก่ (1) เจ้าหน้าที่มีความรู้กฎหมายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างค่อนข้างน้อย (2) การดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างล่าช้า เนื่องจากวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์มีหลายขั้นตอน (3) การไม่ปรับปรุงรูปแบบการก่อสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับราคาการก่อสร้างปัจจุบัน และ (4) การแก้ไขคุณลักษณะครุภัณฑ์หรือเปลี่ยนแปลงรายการเพื่อให้เหมาะสมกับวงเงินที่ได้รับ ทําให้ดําเนินการล่าช้า แนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านกฎระเบียบหรือข้อกฎหมายที่ต้องปฏิบัติ (1) เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการกําหนดคุณสมบัติในการจัดซื้อจัดจ้างที่กีดกันเอกชนบางราย ควรนําระบบคณะกรรมการมาใช้โดยเฉพาะการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินสูง (2) ควรมีมาตรการให้ความรู้และความเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการเป็นคณะกรรมการ เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ได้ถูกต้องและผิดพลาดน้อยที่สุด (3) ควรมีคู่มือการปฏิบัติงานอย่างละเอียดและชัดเจน และควรจัดอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกปี (4) แนวทางการแก้ไขปัญหาการแบ่งซื้อแบ่งจ้างจําเป็นต้องชั่งน้ําหนักระหว่างเป้าหมายในการป้องกันการทุจริตและเป้าหมายในด้านความมีประสิทธิภาพของการดําเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ (5) ให้เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ในด้านการคํานวณราคากลางมีคณะทํางานตรวจทานงาน และคณะกรรมการทําหน้าที่ในการกําหนดราคามาตรฐานของราคาวัสดุให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านบุคคล (1) คัดเลือกบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมาทํางานด้านการจัดซื้อจัดจ้าง รวมถึงเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ (2) มีบทลงโทษผู้กระทําผิดที่เป็นข้าราชการการเมือง ผู้รับเหมา เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่พัสดุ |
Title Alternate | Procurement problems in the local administrative organization, Ubon Ratchathani |