Title | ปฏิกิริยาร่วมระหว่างพันธุกรรมกับสภาพแวดล้อมต่อสารพฤกษเคมีของใบมะละกอ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2563 |
Authors | ธัญญารัตน์ ชุ่มหมื่นไวย์ |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | SB ธ468 2563 |
Keywords | การปรับปรุงพันธุ์มะละกอ, มะละกอ -- การปรับปรุงพันธุ์, มะละกอ -- พันธุศาสตร์, สารพฤกษเคมีของใบมะละกอ |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อทราบปริมาณสารพฤกษเคมีและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของใบมะละกอพันธุ์เหลืองกระบี่ 3 ระยะ คือ ระยะใบอ่อน ระยะใบแก่ และระยะใบแก่มาก 2) เพื่อทราบปฏิกิริยาร่วมระหว่างพันธุกรรมและฤดูกาลต่อปริมาณสารพฤกษเคมีในใบมะละกอ 6 พันธุ์ จาก 3 ฤดูกาล และ 3) เพื่อทราบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของลักษณะปรากฏระหว่างความสัมพันธ์ปริมาณสารพฤกษเคมีกับฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และความสัมพันธ์ของลักษณะกายภาพใบมะละกอกับปริมาณสารพฤกษเคมี ผลการทดลองพบว่า ใบมะละกอระยะใบแก่มาก มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดเท่ากับ 116.43 mg GAE.g-1 dried extract สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมดเท่ากับ 280.32 mg CE.g-1 dried extract และวิตามินซีเท่ากับ 25.94 mg ascorbic acid/100 g FW นอกจากนี้ฤทธิ์การต้านออกซิเดชันวิธี DPPH มีค่าร้อยละความสามารถการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 10.89% และวิธี CUPRAC มีค่าเท่ากับ 486.33 mg TE.g-1 dried extract การศึกษาปฏิกิริยาร่วมระหว่างพันธุกรรมและฤดูกาลในใบมะละกอ 6 พันธุ์ จาก 3 ฤดูกาล พบว่า ปฏิกิริยาร่วมระหว่างพันธุกรรมกับฤดูกาลมีอิทธิพลต่อปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด สารประกอบฟลาโวนอยด์ทั้งหมด วิตามินซี และฤทธิ์การต้านออกซิเดชันวิธี DPPH และวิธี CUPRAC ยกเว้นสารอัลคาลอยด์โดยพบว่า มะละกอพันธุ์เหลืองกระบี่และศรีราชภัฏ ซึ่งเป็นพันธุ์พื้นเมืองที่นิยมปลูกและบริโภคกันมากมีปริมาณสารพฤกษเคมีและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระเฉลี่ยสูงที่สุดทั้ง 3 ฤดูกาล และจากการศึกษาค่kสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของลักษณะปรากฏ พบว่า ลักษณะที่มีความสัมพันธ์สูงกว่าลักษณะอื่น ๆ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างวิตามินซีกับฤทธิ์การต้านออกซิเดชันวิธีDPPH และวิธี CUPRAC (r=-0.30** และ r=0.49** ตามลำดับ) และความสัมพันธ์ระหว่างสีใบกับวิตามินซี ซึ่งลักษณะความสัมพันธ์เหล่านี้มีประโยชน์สำหรับวางแผนการปรับปรุงพันธุ์มะละกอ ช่วยในการคัดเลือกลูกผสมทางอ้อมของมะละกอให้มีปริมาณสารพฤกษเคมีและฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระที่สูง |
Title Alternate | Genotype X environment interactions on the phytochemical traits of papaya leaves |