การศึกษาความแม่นยำและพัฒนาแบบจำลอง Altman's EM-score model สำหรับพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย / คณะผู้วิจัย , ,

Titleการศึกษาความแม่นยำและพัฒนาแบบจำลอง Altman's EM-score model สำหรับพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย / คณะผู้วิจัย , ,
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2563
Authorsธีนทัต โกศัลวิตร, เคียงขวัญ อักษรวงศ์, วิชดา ลิวนานนท์ชัย
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHG5750.55.A3 ธ619 2563
Keywordsการพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงิน, ความล้มเหลวทางธุรกิจ -- พยากรณ์, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, บริษัท -- การเงิน, บริษัททางการเงิน, แบบจำลอง Altman's EM-score model
Abstract

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแม่นยำของแบบจำลอง Altman’s EM-score model ในฐานะตัวบ่งชี้ความล้มเหลวทางการเงินล่วงหน้า 1 ปีก่อนที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจะถูกขึ้นเครื่องหมาย SP (Trading suspension) จากสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับงบการเงิน หรือ NC (Non-compliance) รวมทั้ง พัฒนาแบบจำลองใหม่เพื่อใช้ในการพยากรณ์ความล้มเหลวทางการเงินข้อมูลที่ใช้คือ ข้อมูลจากงบการเงินล่วงหน้า 1 ปี ของบริษัทจดทะเบียน ในปี 2542 – 2560 จำนวน 186 บริษัท เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก และการใช้ตารางไขว้เพื่อพิจารณาประสิทธิภาพในการพยากรณ์ของทั้งสองแบบจำลอง ผลการศึกษาพบว่า
(1) ในแบบจำลอง Altman’s EM score model พบว่า มีการพยากรณ์ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 72.0 และการพยากรณ์ไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 28.0 เมื่อพิจารณาการพยากรณ์ที่ไม่ถูกต้องพบว่า เป็นการพยากรณ์ว่าบริษัทมีผลการดำเนินงานปกติทั้ง ๆ ที่ล้มเหลวทางการเงิน (Type I error) ร้อยละ 49.5 และเป็นการพยากรณ์ว่าบริษัทจะล้มเหลวทางการเงิน ทั้ง ๆ ที่มีผลการดำเนินงานปกติ(Type II error) ร้อยละ 6.5
(2) ในแบบจำลองการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก พบว่า มีการพยากรณ์ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 82.8 และการพยากรณ์ไม่ถูกต้องคิดเป็นร้อยละ 17.2 เมื่อพิจารณาการพยากรณ์ที่ไม่ถูกต้องพบว่า Type I error เท่ากับร้อยละ 22.6 และ Type II error เท่ากับร้อยละ 11.8
(3) เมื่อพิจารณาประสิทธิภาพในการพยากรณ์ของทั้งสองแบบจำลองแล้วจะพบว่า แบบจำลองการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติกที่สร้างขึ้นมาใหม่มีสัดส่วนของการทำนายที่ถูกต้องในภาพรวมดีกว่า Altman’s EM Score model โดยเฉพาะ Type I error ที่ต่ำกว่า Altman’s score model มาก
ในขณะที่ Type II error มีการพยากรณ์ผิดพลาดมากกว่า Altman’s score model

Title Alternate A study of precision and development of Altman's EM-Score model to predict financial failure of listed companies in the stock exchange of Thailand