การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตการทำงานของนักเทคนิคการแพทย์

Titleการพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตการทำงานของนักเทคนิคการแพทย์
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2561
Authorsนริศรา ยอดบุดดี
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA น253 2561
Keywordsคุณภาพชีวิต -- การวัดผล, คุณภาพชีวิตการทำงาน, นักเทคนิคการแพทย์, เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิต
Abstract

ปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตการทํางานสําหรับวิชาชีพเทคนิคการแพทย์โดยเฉพาะการวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตการทํางานของนักเทคนิคการแพทย์ตามหลักการของการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือนักเทคนิคการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จํานวน 536 คน เครื่องมือที่พัฒนาเป็นแบบสอบถามมีมาตรวัดแบบลิเคิรท์มีระดับความคิดเห็น 5 ระดับ และมีข้อคําถามจํานวน 63 ข้อ ผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ พบว่า เครื่องมือมีคุณภาพด้านความตรงตามเนื้อหาโดยเครื่องมือประกอบด้วยข้อคําถามที่มีเนื้อหาของคําถามที่สามารถวัดคุณภาพชีวิตการทํางานนักเทคนิคการแพทย์ (IOC > 0.5) คิดเป็นร้อยละ 93.75 ของข้อคําถามทั้งหมดเครื่องมือมีคุณภาพของข้อคําถามรายข้อโดยเครื่องมือประกอบด้วยข้อคําถามที่มีความเป็นเอกพันธ์ (ข้อคําถามที่มีค่า Corrected Item-Total Correlation > 0.30 คิดเป็นร้อยละ 89.74) และเครื่องมือประกอบด้วยข้อคําถามที่สัมพันธ์กับจุดมุ่งหมายที่ต้องการวัด เครื่องมือมีคุณภาพด้านความเที่ยงโดยค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบาคของเครื่องมือทั้งฉบับมีค่า 0.95 และรายด้านมีค่าระหว่าง 0.86-0.91 เครื่องมือมีคุณภาพด้านความตรงตามโครงสร้างโดยจากการวิเคราะห์องค์ประกอบ พบว่า เมื่อสกัดองค์ประกอบด้วยวิธีองค์ประกอบหลักและหมุนแกนแบบออโธกอนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ได้ 5 องค์ประกอบ ซึ่งมีค่าไอเกนระหว่าง 1.632–13.72 และจํานวนตัวแปรในแต่ละองค์ประกอบมี 3 ตัวแปรขึ้นไป (ค่าน้ําหนักปัจจัย 0.30 ขึ้นไป) โดยมีจํานวนข้อคําถามเพียง 39 ข้อ สรุปได้ว่าคุณภาพชีวิตการทํางานของนักเทคนิคการแพทย์มี 5 องค์ประกอบ คือ โอกาสในการพัฒนาศักยภาพของบุคคลและความก้าวหน้ามั่นคงในงาน ประชาธิปไตยในองค์กรและการบูรณาการทางสังคม คุณค่าของวิชาชีพต่อสังคม สภาพการทํางานที่ปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ และค่าตอบแทนที่ได้รับเพียงพอและยุติธรรมซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของคะแนนคุณภาพชีวิตการทํางานของนักเทคนิคการแพทย์ได้ร้อยละ 56.540 เครื่องมือมีคุณภาพด้านความตรงเชิงจําแนกโดยพิจารณาจากผลการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ พบว่าตัวแปรที่สามารถทํานายคุณภาพชีวิตการทํางานของนักเทคนิคการแพทย์อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ เพศ เพียงตัวแปรเดียว หากเป็นเพศหญิงคะแนนคุณภาพชีวิตการทํางานของนักเทคนิคการแพทย์เพศหญิงจะสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ผลการศึกษาพบว่านักเทคนิคการแพทย์มีคุณภาพชีวิตการทํางานโดยรวมและในแต่ละองค์ประกอบอยู่ในระดับปานกลาง สรุปได้ว่าเครื่องมือวิจัยที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือที่มีคุณภาพ สามารถวัดคุณภาพชีวิตการทํางานของนักเทคนิคการแพทย์ได้

Title Alternate Development of quality of work life instrument for medical technologist