Title | เรื่องเล่าประมงพื้นบ้านปากมูนกับปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2562 |
Authors | พงษ์เทพ บุญกล้า |
Degree | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาภูมิภาคลุ่มน้ำโขงศึกษา |
Institution | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | GN พ156 2562 |
Keywords | ประมงพื้นบ้าน, ประมงพื้นบ้าน -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), เขื่อนปากมูล |
Abstract | งานศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตเรื่องเล่าประมงพื้นบ้านในช่วงก่อนและหลังการสร้างเขื่อนปากมูล และศึกษาเรื่องเล่าประมงพื้นบ้านในฐานะปฏิบัติการในชีวิตประจำวันของชาวประมงบ้านหัวเห่ว อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย โดยใช้แนวคิดปฏิบัติการในชีวิตประจำวัน (The Practice of Everyday Life) และแนวคิดสิทธิชุมชน (Community Rights) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ชาวประมงพื้นบ้านปากมูนมีอัตลักษณ์สำนึกนิเวศวัฒนธรรม ตำแหน่งแห่งที่ และส่งที่มีร่วมกันระหว่างคนสองฝั่งโขงไทย-ลาว เมื่อการสร้างเขื่อนปากมูลส่งผลกระทบต่ออัตลักษณ์ของชาวประมงพื้นบ้านปากมูน ชาวประมงพื้นบ้านจึงสร้างเรื่องเล่าในชีวิตประจำวันเพื่อการต่อรองและช่วงชิงความหมายแบ่งเป็นกลุ่ม 4 กลุ่ม ได้แก่ เรื่องเล่าโลกใต้น้ำและภูมิศาสตร์พื้นบ้าน เรื่องเล่าผีและวีรบุรุษท้องถิ่น อุปลักษณ์เรื่องเล่ากับเขื่อนปากมูลและเรื่องเล่านิเวศวัฒนธรรมและสิทธิชุมชน นอกจากนี้ยังพบว่า เรื่องเล่าของชาวประมงพื้นบ้านเป็นอุดมการณ์เชิงปฏิบัติการ 3 มิติ คือ หนึ่ง การไม่ยอมจำนนต่ออำนาจรัฐที่ไม่เป็นธรรม เรื่องเล่าประมงพื้นบ้านเสมือนเป็นอาวุธของผู้อ่อนแอ ชาวประมงพื้นบ้านอุปลักษณ์เรื่องเล่ากับเขื่อนปากมูลและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ทรัพยากร สอง เรื่องเล่าแบบอารยะขัดขืนของชาวประมง เป็นการบอกเล่าอัตลักษณ์ ตำแหน่งแห่งที่การไม่ถูกครอบงำจากอำนาจรัฐ และการสร้างสำนึกของความเป็นคนปากมูน สาม เรื่องเล่าเกี่ยวกับสิทธิชุมชน โดยการพยายามเล่าเรื่องนิเวศวัฒนธรรม หรือผลิตซ้ำนิเวศวัฒนธรรม และตีความใหม่จากสถานการณ์ปัจจุบัน |
Title Alternate | Narratives of local Pak Mun fisheries and practice of everyday life |