การออกแบบโครงข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ ด้วยการแบ่งกลุ่มเคมีนและวิธีการเชิงพันธุกรรม

Titleการออกแบบโครงข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ ด้วยการแบ่งกลุ่มเคมีนและวิธีการเชิงพันธุกรรม
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2562
Authorsพิจิตรา พิศชวนชม
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTK พ637 2562
Keywordsจีเนติกอัลกอริทึม, เครือข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟ
Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการออกแบบโครงข่ายเชิงแสงแบบพาสซีฟด้วยการแบ่งกลุ่มเคมีนและวิธีการเชิงพันธุกรรม วัตถุประสงค์เพื่อหางบประมาณของระบบที่น้อยที่สุด ด้วยการประยุกต์ใช้การแบ่งกลุ่มผู้ใช้บริการแบบเคมีน และการหาตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดของอุปกรณ์แยกสัญญาณด้วยวิธีการเชิงพันธุกรรม วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้ทำการจำลองด้วยโปรแกรมแมตแล็บ โดยคำนึงถึงปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ ของระบบ เช่น ระยะทางของเส้นใยแก้วนำแสง จำนวนและอัตราการแยกสัญญาณของอุปกรณ์แยกสัญญาณและค่าลดทอนสัญญาณ นอกจากนี้ ทำการจำลองระบบและเปรียบเทียบโทโพโลยีแบบต่าง ๆ เช่น ดาว วงแหวน ต้นไม้ และกำหนดค่าลดทอนสัญญาณจากชุมสายไปยังบ้านเรือนของผู้ใช้บริการต้องไม่เกิด 25 เดซิเบล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการออกแบบและวางแผน สามารถรองรับการใช้งานในอนาคต ถ้ามีจำนวนบ้านเรือนเพิ่มขึ้นในเขตพื้นที่ที่บริการ
ผลการจำลองระบบจากตำแหน่งที่ตั้งจริงของผู้ใช้บริการจำนวน 1000 บ้านเรือน ในเขตเทศบาลนครอุบลราชธานี อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี ขนาดพื้นที่ 14.36x14.42 ตารางกิโลเมตร โดยการจำลองระบบด้วยโทโพโลยีทั้ง 3 แบบ โดยมีการแบ่งกลุ่ม 5 ลักษณะ ได้แก่ 30, 40, 50, 60 และ 70 กลุ่ม พบว่า แบบที่ 1 โทโพโลยีแบบดาว มีงบประมาณ 21.035, 21.082, 21.149, 21.203, 21.222 ล้านบาท และค่าลดทอนสัญญาณ 18.02, 17.62, 17.48, 17.41, 17.20 เดซิเบล ตามลำดับ และค่าลดทอนสัญญาณ 30.26, 34.56, 36.31, 41.91, 44.54 เดซิเบล ตามลำดับ แบบที่ 3 โทโพโลยีแบบต้นไม้ มีงบประมาณ 2.577, 2.752, 3.033, 3.168, 3.192 ล้านบาท และค่าลดทอนสัญญาณ 16.19, 16.1888, 16.25, 15.59, 14.79 เดซิเบล ตามลำดับ
จากผลการจำลองระบบข้างต้น โทโพโลยีแบบต้นไม้มีแนวโน้มให้ค่างบประมาณที่น้อยที่สุดจึงมีการจำลองระบบเพิ่มเติมในรายละเอียด และพบว่าการแบ่งกลุ่มจำนวน 34 กลุ่ม ใช้งบประมาณน้อยที่สุด เท่ากับ 2.665 ล้านบาท และมีค่าลดทอนสัญญาณ เท่ากับ 16.28 เดซิเบล เมื่อเปรียบเทียบผลกับวิธีการที่ใช้ติดตั้งจริงในปัจจุบัน พบว่า การออกแบบระบบที่นำเสนอด้วยการแบ่งกลุ่มเคมีนและขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม สามารถประหยัดงบประมาณได้ 28.14 เปอร์เซ็นต์ โดยยังสามารถครอบคลุมพื้นที่ผู้ใช้บริการทั้งหมด และมีค่าลดทอนสัญญาณไม่เกิน 25 เดซิเบล ทำให้สามารถให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีเสถียรภาพ และยังสามารถรองรับความต้องการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้

Title Alternate A design of passive optical network using k-mean clustering and genetic algorithm