คำแสดงโภชนลักษณ์ในตำราอาหารไทยและลาว : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ

Titleคำแสดงโภชนลักษณ์ในตำราอาหารไทยและลาว : กรณีศึกษาเปรียบเทียบ
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2563
Authorsภาสพงศ์ ผิวพอใช้
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberPL4158 ภ494 2563
Keywordsการปรุงอาหาร, การใช้ภาษาไทย, คำแสดงโภชนลักษณ์, ตำราอาหาร, อาหาร
Abstract

การวิจัยเรื่อง “คำแสดงโภชนลักษณ์ในตำราอาหารไทยและลาว: การศึกษาเปรียบเทียบ” มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการคือ 1) ศึกษารูปแบบตำราอาหารไทยและตำราอาหารลาว 2) ศึกษาเปรียบเทียบคำแสดงโภชนลักษณ์ที่ปรากฏในตำราอาหารไทยและตำราอาหารลาว และ 3) ศึกษาเปรียบเทียบภาพสะท้อนด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรมเกี่ยวกับอาหารการกินของชาวไทยและของชาวลาวในมุมมองผ่านคำแสดงโภชนลักษณ์ในตำราอาหารไทยและตำราอาหารลาว ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบตำราอาหารไทยนำเสนอต่างกัน คือ “ตำรากับเข้า” ของหม่อมซ่มจีน ราชานุประพันธ์ไม่ได้นำเสนอเป็นรูปแบบตำราอาหารที่ประกอบด้วยส่วนคต่าง ๆ ของหนังสืออย่างสมบูรณ์ แต่ “ตำราแม่ครัวหัวป่าก์” เล่ม 1-5 ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ และตำราอาหารลาว “ตำรับอาหารพระราชวังหลวงพระบาง” ของเพียสิงจะเลินสินเป็นตำราอาหารที่ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ของหนังสืออย่างสมบูรณ์ตามสากลนิยมในปัจจุบัน ในด้านการศึกษาเปรียบเทียบคำแสดงโภชนลักษณ์ในตำราอาหารไทยและลาวนั้น มีการแบ่งกลุ่มประเภทคำแสดงโภชนลักษณ์ที่คล้ายคลึงกันโดยจัดแบ่งออกได้ดังนี้ คือ ประเภทคำแสดงโภชนลักษณ์เกี่ยวกับชื่ออาหารประเภทคำแสดงโภชนลักษณ์เกี่ยวกับอุปกรณ์เครื่องครัว ประเภทคำแสดงโภชนลักษณ์เกี่ยวกับเครื่องปรุงอาหาร คำแสดงโภชนลักษณ์ประเภทต่าง ๆ ดังกล่าวในตำราอาหารไทยและตำราอาหารลาวจะแสดงให้เห็นภาพสะท้อนด้านวัฒนธรรมการบริโภคอาหาร ภาพสะท้อนด้านกรรมวิธีประกอบอาหารและภาพสะท้อนการแพร่กระจายทางวัฒนธรรม

Title Alternate Aspects of cooking terms in Thai and Laos cook book : a comparative study