เทคนิคการติดตามการสึกหรอเครื่องมือทางอ้อมสำหรับกระบวนการเสียดทานแบบกวนของอะลูมิเนียมเชิงประกอบพื้นผิว

Titleเทคนิคการติดตามการสึกหรอเครื่องมือทางอ้อมสำหรับกระบวนการเสียดทานแบบกวนของอะลูมิเนียมเชิงประกอบพื้นผิว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2562
Authorsรุ่งวสันต์ ไกรกลาง
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTJ ร638 2562
Keywordsกระบวนการเสียดทานแบบกวน, การสึกกร่อนของโลหะ, การสึกหรอของเครื่องมือ, อะลูมินัม, อะลูมิเนียมเชิงประกอบพื้นผิว, เครื่องมือในการอุตสาหกรรม
Abstract

การวัตถุประสงค์ในการวิจัยนี้เพื่อศึกษากลไกและรูปแบบการเกิดการสึกหรอของเครื่องมือในการเตรียมอะลูมิเนียมเชิงประกอบพื้นผิว AA5052 เสริมแรงด้วยอนุภาคซิลิคอนคาร์ไบด์ด้วยกระบวนการเสียดทานแบบกวน และเพื่อพัฒนาวิธีการตรวจติดตามการสึกหรอของเครื่องมือระหว่างในการเตรียมอะลูมิเนียมเชิงประกอบพื้นผิว เริ่มจากการทดลองหาพารามิเตอร์เบื้องตนเพื่อหาขอบเขตการขึ้นรูปที่เป็นไปได้ การออกแบบการทดลองหาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการขึ้นรูปสําหรับปัญหาแบบหลายวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการวิเคราะหความสัมพันธ์แบบเกรย์ เพื่อได้พารามิเตอรที่ทําให้ได้สมบัติทางกลของชิ้นงานดีที่สูง และทําให้เกิดการสึกหรอของเครื่องมือที่ต่ำ นําผลลัพธ์ที่ได้ไปใช้ในการออกแบบระบบการตรวจติดตามการสึกหรอของเครื่องมือระหว่างกระบวนการด้วยสัญญาณแรงสั่นสะเทือนระหว่างกระบวนการขึ้นรูปผลการดําเนินงาน พบว่า กลไกการสึกหรอของเครื่องมือในการขึ้นรูปวัสดุอะลูมิเนียมเชิงประกอบพื้นผิวด้วยกระบวนการเสียดทานแบบกวน มีรูปแบบกลไกการสึกหรอแบบขูดขีดจากสามชิ้นส่วน โดยปัจจัยจํานวนการเดินกวนซ้ำมีอิทธิพลต่อการสึกหรอของเครื่องมือสูงที่สุด ระดับปัจจัยที่เหมาะสมแบบหลายวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเกรย์ คือ ระดับปัจจัยของจํานวนการเดินซ้ำแนวกวน จํานวน 2 ครั้ง ระดับความเร็วรอบที่ 1000 รอบต่อนาที และความเร็วเดินกวนที่ 30 มิลลิเมตรต่อนาที เมื่อนําระดับปัจจัยดังกล่าวมาวิเคราะห์ขนาดสัญญาณการสั่นสะเทือนบนโดเมนความถี่ที่ความถี่ 33.5 Hz และความถี่ 50.1 Hz ค่อนข้างมีความเหมาะสมในการนํามาวิเคราะห์การสึกหรอของเครื่องมือในในการขึ้นรูปอะลูมิเนียมเชิงประกอบดวยกระบวนการเสียดทานแบบกวน กล่าวคือแนวโน้มของสัญญาณการสั่นสะเทือนจะลดลงเมื่ออัตราการสึกหรอของเครื่องมือเพิ่มขึ้นตามช่วงระยะทางการเดินกวนที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน

Title Alternate Indirect tool wear monitoring technique in friction stir processing of aluminium surface composite