Title | การออกแบบและสร้างแม่พิมพ์แผ่นรองปูพื้นกันลื่นต้านราและแบคทีเรียในห้องน้ำจากยางธรรมชาติสำหรับผู้สูงอายุ |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2563 |
Authors | ศิริวัฒน์ ระดาบุตร |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TP1185.T5 ศ487ก 2563 |
Keywords | การผลิตยางธรรมชาติ, ผู้สูงอายุ, แผ่นยางปูพื้น -- การออกแบบและการสร้าง, แผ่นรองปูพื้นกันลื่น, แผ่นรองปูพื้นกันลื่นต้านราและแบคทีเรีย, แผ่นรองปูพื้นกันลื่นในห้องน้ำ |
Abstract | งานวิจัยนี้ได้ทำการออกแบบและสร้างแม่พิมพ์เพื่ออัดขึ้นรูปแผ่นยางปูพื้นในห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุโดยใช้ไมโครซิงเป็นสารต้านแบคทีเรีย นำแผ่นยางคงรูปไปทดสอบประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียโดยนำไปทดสอบกับเชื้อ Aspergillus niger, Escherichia coli และ Stephylococcus aureus ทดสอบโดยการวางแผ่นยางบนจานอาหารที่มีเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ในแบคทีเรียจะนำไปบ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง ส่วนเชื้อราจะบ่มที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 48 ชั่วโมง จึงนำมาวิเคราะห์ผลโดยการวัดระยะของ Inhibition zone ที่เกิดขึ้นรอบแผ่นยาง จากผลการทดลองพบว่า ยางคงรูปที่ใช้สมบัติเชิงกลตามมาตรฐานอุตสาหกรรมแผ่นยางปูพื้น (มอก.2377-2551) คือ ยางคงรูปที่บดผสมยางธรรมชาติ 100 phr กับสารตัวเติม calcium carbonate 80 phr ในระบบการคงรูปที่ใช้กำมะถัน และผลการยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย พบว่า สูตรยางที่เติมนาโนซิงค์ออกไซด์ให้ผลการยับยั้งที่ดีกว่าสูตรยางที่เติมนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ และแผ่นยางที่เติมอนุภาคนาโนทั้งสองชนิดสามารถยับยั้งที่ดีกว่าสูตรยางที่เติมนาโนไททาเนียมไดออกไซด์ และแผ่นยางที่เติมอนุภาคนาโนทั้งสองชนิดสามารถยับยั้งเชื้อรา A.niger ได้เป็นอย่างดี แต่ในแบคทีเรียจะสามารถยับยั้งแบคทีเรียแกรมบวก S.aureus ได้ดีกว่าแบคทีเรียแกรมลบ E.coli เนื่องจากความแตกต่างของเยื่อหุ้มและผนังเซลล์ แบคทีเรียแกรมลบจะมีผนังที่หนาและซับซ้อนมากกว่าแบคทีเรียแกรมบวกและมีเยื่อหุ้มชั้นนอกของ lipopolysaccharides และชั้น peptidoglycan สิ่งนี้จะช่วยป้องกันการดูดซึมของ ROS และไอออนไม่ให้ผ่านเยื้อหุ้มเซลล์และเข้าไปในเซลล์ได้ จากผลการทดลองสรุปได้ว่า ยางคงรูปที่ผ่านมาตรฐานอุตสาหกรรมแผ่นยางปูพื้น (มอก.2377-2511) คือ ยางคงรูปที่บดผสมยางธรรมชาติ 100 phr กับ calcium carbonate 80 phr ในระบบการคงรูปด้วยกำมะถัน และประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียของซิงค์ออกไซด์ พบว่า สามารถยับยั้งเชื้อรา A.niger ได้เป็นอย่างดี และในเชื้อแบคทีเรียสามารถยับยั้งได้ทั้งเชื้อ S.aureus และ E.coli แต่เกิดโซนยับยั้งให้มองเห็นได้เพียงเล็กน้อย แสดงว่า ซิงค์ออกไซด์ขนาดไมโครไซด์สามารถยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียได้เช่นกันกับซิงค์ออกไซด์ขนาดอนุภาคนาโนแต่ประสิทธิภาพต่ำกว่าเนื่องจาก ขนาดอนุภาคนาโนจะมีพื้นที่ผิวมากกว่าทำให้เกิด ROH ได้ดีจึงทำให้ประสิทธิภาพในการยับยั้งสูงกว่า |