Title | ผลของชนิดสารเชื่อมขวางต่อสมบัติไฮโดรเจลที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพของแป้งมันสำปะหลังกราฟด้วยพอลิอะครีลิค/ยางธรรมชาติ เพื่อเป็นวัสดุเคลือบปุ๋ยยูเรียปลดปล่อยช้า |
Publication Type | งานวิจัย/Research report |
Year of Publication | 2564 |
Authors | สายันต์ แสงสุวรรณ, พัชรีพร จึงศีลญธรรม |
Institution | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TP248.S7 ส665 2564 |
Keywords | การย่อยสลายทางชีวภาพ, ยางธรรมชาติ, วัสดุเคลือบปุ๋ยยูเรียปลดปล่อยช้า, สมบัติไฮโดรเจล, สารเคลือบปุ๋ย, สารเชื่อมขวาง, เทคโนโลยีเคมี, แป้งมันสำปะหลัง |
Abstract | งานวิจัยนี้รายงานเกี่ยวกับปุ๋ยยูเรียปลดปล่อยช้า เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและย่อยสลายได้ทางชีวภาพ โดยได้ทำการสังเคราะห์พอลิเมอร์ที่ย่อยสลายทางชีวภาพเพื่อใช้เคลือบเม็ดปุ๋ยยูเรียและเพื่อทำการควบคุมและปลดปล่อยปุ๋ย ไฮโดรเจลเป็นพอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างเป็นโครงร่างตาข่ายสามมิติที่มีความสามารถในการกักเก็บน้ำสูง ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้ทำการเตรียมไฮโดรเจลโครงร่างตาข่ายกึ่งแทรกสอดที่ย่อยสลายได้ทางธรรมชาติจากแป้งมันสำปะหลังกราฟต์ด้วยอะคริลิคแอซิดและยางธรรมชาติผ่านปฏิกิริยาโคพอลิเมอร์ไรเซซั่น โดยทำการศึกษาผลของการใช้สารเชื่อมขวางที่แตกกัน 3 ชนิด คือ เอ็น-เอ็น เมทาลีนบิสอะคริสาไมด์ (MBA), เอทิลีนไกลคอลไดมีทาไคเลต (EDMA) และกลูตาเลาแอลดีไฮด์ (GA) และนำไฮโดรเจลที่ได้ไปพิสูจน์เอกลักษณ์ด้วยเทคนิค FTIR XRD TGA และ SEM ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณสมบัติการบวมตัว เช่น ชนิดของสารเชื่อมขวางและปริมาณที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า สารเชื่อมขวางที่ต่างชนิดกันนั้นส่งผลต่อค่าการบวมตัวต่างกันอย่างชัดเจน ตัวอย่างที่มีค่าการดูดซับที่ดีที่สุด คือ CSB-M2, CSB-E2 และ CSB-G2 ที่ 450, 550, 5890% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาการกักเก็บน้ำในดิน การย่อยสลายทางชีวภาพ และนำไปทดสอบในพืชจริง พบว่า ไฮโดรเจล ช่วยกักเก็บความชุ่มชื้นให้แก่ดินได้ สามารถย่อยสลายได้ทางชีวภาพได้ดีใน 120 วัน และมีประสิทธิภาพสูงสำหรับการเคลือบปุ๋ยและควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยยูเรียได้ยาวนานถึง 120 ชั่วโมงและไม่น้อยกว่า 30 วัน ในน้ำและในดิน ตามลำดับ ดังนั้นวัสดุไฮโดรเจลที่ย่อยสลายทางชีวภาพชนิดใหม่นี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเป็นวัสดุเคลือบและควบคุมการปลดปล่อยปุ๋ยและไม่เป็นพิษ สามารถย่อยสลายในดินได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
Title Alternate | Effect of cross linker types on the properties of biodegradable hydrogels derived from cassava starch grafted with poly(acrylic acid)/natural rubber as coating material for slow-release urea fertilizer |