แผนที่เตือนภัยน้ำท่วมลุ่มน้ำลำโดมใหญ่

Titleแผนที่เตือนภัยน้ำท่วมลุ่มน้ำลำโดมใหญ่
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2562
Authorsองอาจ แสนอุบล
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberGA อ117 2562
Keywordsน้ำท่วม, ระบบเตือนภัย, ลำโดมใหญ่, อุทกภัย, แบบจำลองทางคณิตศาสตร์, แผนที่เตือนภัย
Abstract

ลุ่มน้ำลำโดมใหญ่เป็นลุ่มน้ำสาขาของลุ่มน้ำมูล ด้วยสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำที่เป็นแอ่งบริเวณท้ายน้ำติดกับแม่น้ำมูล จึงเป็นพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมทุกปี งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์อุทกภัยที่เกิดขึ้นในแม่น้ำลำโดมใหญ่บริเวณเหนือและท้ายเขื่อนลำโดมใหญ่ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตอนท้ายของลุ่มน้ำ วัตถุประสงค์การศึกษาครั้งนี้ คือ ศึกษาพฤติกรรมการเคลื่อนตะวของน้ำหลากจากน้ำท่วม กรณีศึกษามีเขื่อน ไม่มีเขื่อนลำโดมใหญ่ กรณีศึกษาการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ศึกษาด้วยโครงสร้างทางชลศาสตร์ โดยการจำลองการเกิดน้ำท่วมประวัติศาสตร์ พ.ศ.2556 ด้วยแบบจำลองคณิตศาสตร์ MIKE 11 มาประยุกต์ใช้ พร้อมกันนี้ได้ใช้เทคนิค Flood Channel จากแบบจำลองคณิตศาสตร์ MIKE 11 เพื่อสร้างแผนที่เตือนภัยน้ำท่วมที่คาบการเกิดซ้ำที่ 2, 5, 10, 25 และ 100 ปี เพื่อใช้ในการเตือนภัยและการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม
ผลการศึกษาพบว่า สาเหตุน้ำท่วมเกิดจากปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นหลัก กรณีไม่มีเขื่อนลำโดมใหญ่จะมีระดับน้ำสูงสุดอยู่ที่ +115.25 ม.รทก. เท่ากันกับในกรณีที่มีเขื่อนลำโดมใหญ่ โดยระดับน้ำจะสูงกว่าตลิ่ง (+112.00 ม.รทก.) เท่ากับ 3.25 เมตร โดยปริมาณน้ำที่ล้นตลิ่งจะท่วมแผ่นพื้นที่ จนถึงระดับ +115.25 ม.รทก. แสดงให้เห็นว่ากรณีมีเขื่อนและไม่มีเขื่อนลำโดมใหญ่ไม่มีผลกระทบต่อระดับน้ำท่วมและพื้นที่นำ้ท่วมโดยรอบ และในการหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยโครงสร้างทางชลศาสตร์ โดยเมื่อจำลองให้มีประตูควบคุมการระบายน้ำห้วยข้าวสาร พบว่า ไม่มีผลหรืออิทธิพลต่อการเกิดน้ำท่วมในแม่น้ำลำโดมใหญ่ จากการวิเคราะห์แผนที่เตือนภัยน้ำท่วม พบว่า พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมจะแปรผันตามคาบการเกิดซ้ำ โดยในเขตพื้นที่ศึกษาที่รอบปีการเกิดซ้ำที่ 2 ปี มีพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในเขตพื้นที่ป่าไม้มากที่สุด คาบการเกิดซ้ำที่ 5, 10, 25 และ 100 ปี มีพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมในพื้นที่เขตเกษตรกรรมมากที่สุด

Title Alternate Flood warning map in Lamdomyai Basin