การสำรวจด้านการผลิตและวิธีปฏิบัติในระยะหลังเก็บเกี่ยวของข่าอ่อนในตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการสำรวจด้านการผลิตและวิธีปฏิบัติในระยะหลังเก็บเกี่ยวของข่าอ่อนในตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2545
Authorsอุบล ชินวัง, รักเกียรติ แสนประเสริฐ, พิทักษ์ สิงห์ทองลา
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB121 อ832
Keywordsการปลูกข่า, การปลูกพืช
Abstract

การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของการปลูกข่าพันธุ์ข่าแดง เพื่อการค้าของเกษตรกร ทั้งในระยะก่อนเก็บเกี่ยว เก็บเกี่ยว และหลังเก็บเกี่ยว และลักษณะการตลาด/การจัดจำหน่ายข่าอ่อนพร้อมบริโภคของแม่ค้ารับซื้อที่มีภูมิลำเนาในตำบลห้วยขะยุง อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่าเกษตรกรมีพื้นที่ปลูกข่า 2 ลักษณะ คือ พื้นที่อาศัยน้ำฝนตามฤดูกาล และพื้นที่อาศัยน้ำชลประทาน พื้นที่ปลูกของเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นแปลงขนาดน้อยกว่า 200 ตารางวา และไม่เกิน 400 ตารางวา การปลูกข่าเริ่มจากการเตรียมดิน แล้วยกร่องหรือขุดให้เป็นหลุม เพื่อให้ข่าเจริญเติบโตเป็นกอ หลุมปลูกรองด้วยปุ๋ยคอก และ/หรือปุ๋ยเคมี ก่อนนำเหง้าแม่พันธุ์อายุประมาณ 2 ปี ตัดเป็นท่อน ๆ ละ 2-4 ข้อ วางในหลุมปลูก เกษตรกรมักปลูกข่าในช่วงฤดูฝน ในฤดูฝนจะให้น้ำน้อยกว่าฤดูแล้ง เกษตรกรส่วนน้อยที่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในแปลงปลูกข่า โรคพืชที่พบคือ โรคไส้เกร็น เกษตรกรนิยมใช้แรงงานตนเองและสมาชิกในครอบครัวสำหรับการดูแลรักษาต้นข่าในแปลงปลูกมากกว่าการจ้างแรงงานภายนอกครอบครัว

Title Alternate A survey of the cultivation practices and postharvest handling on immature greater Galangal [Languas galanga Sw.] in Huay Ka Yung sub-district of Ubon Ratchathani province
Fulltext: