Title | วาทกรรมว่าด้วยเรื่อง"บ้านพัฒนา" : กรณีศึกษาหมู่บ้านหนองบึง เมืองปะทุมพอน แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2552 |
Authors | มะนีวอน แพงโสม |
Degree | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา |
Institution | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | HN ม269 |
Keywords | การพัฒนาชนบท -- ลาว -- จำปาสัก, การพัฒนาชนบทลาว, การพัฒนาชุมชน -- ลาว -- จำปาสัก, การพัฒนาชุมชนลาว, หมู่บ้าน -- ลาว -- จำปาสัก, หมู่บ้านลาว |
Abstract | การศึกษาเรื่อง วาทกรรมว่าด้วย “บ้านพัฒนา” เมืองปะทุมพอน แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์สามประการ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการจัดจั้งบ้านพัฒนาของ สปป.ลาว ในด้านรูปแบบ ขั้นตอน และวิธีการ 2) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใขของชาวบ้านหนองบึงเกี่ยวกับวาทกรรม “บ้านพัฒนา” และ 3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลง และการปรับตัวของชุมชนในการก้าวไปสู่การเป็น “บ้านพัฒนา” โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากภาคสนาม โดยวิธีการสัมภาษณ์ และการสังเกต
ผลการศึกษา พบว่า
ประการที่หนึ่ง กระบวนการสร้างบ้านพัฒนาเป็นการปฏิบัติตามคำสั่งจากศูนย์กลางหรือจากบนลงล่างโดยมีวิธีดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ 1) การเก็บข้อมูลพื้นฐานของชุมชนเป้าหมายเพื่อนำมาสร้างเป็นแผนงานในการสร้างบ้านและกลุ่มบ้านพัฒนา 2) การเปิดประชุมให้ชาวบ้านรับรู้ความหมาย ความสำคัญในการสร้างบ้านพัฒนา และกลุ่มบ้านพัฒนาเพื่อให้เข้าใจไปในทางเดียวกัน 3) ขั้นตอนดำเนินการจัดตั้งปฏิบัติ ด้วยการเข้าไปปรับปรุงระบบการจัดตั้งหน่วยงานต่าง ๆ ในหมู่บ้านเป้าหมายให้เป็นไปตามโครงการที่กำหนดไว้ 4) ติดตามประเมินผล และ 5) สรุปประเมินผลมอบใบรับรองการเป็นบ้านพัฒนา ทั้งนี้ การได้รับการยกฐานะเป็นบ้านพัฒนานั้น ต้องดำเนินการและได้รับใบรับรองครบตามที่รัฐกำหนด คือ 1) ใบรับรององค์กรวัยหนุ่มบ้าน 2) ใบรับรององค์กรสหพันธ์แม่หญิง 3) ใบรับรองฝีมือแรงงาน 4) ใบรับรองด้านสาธารณสุข 5) ใบรับรองด้านการศึกษา และ 6) ใบรับรองหมู่บ้านปลอดคดีสำหรับหมู่บ้านที่ศึกษา พบว่า ได้รับการรับรองแล้วใน 3 ด้านแรก ส่วน 3 ด้านอยู่ในช่วงดำเนินการ
ประการที่สอง ด้านความคิด ความเข้าใจของชาวบ้านต่อคำว่า “บ้านพัฒนา” พบว่า ในชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้าใจที่แตกต่างกันในหลายแง่มุม แต่สิ่งที่ทุกคนเห็นพร้อมกัน คือ ยินดีให้หน่วยงานรัฐเข้าไปผลักดันช่วยหมู่บ้านให้กลายเป็นบ้านพัฒนา
ประการที่สาม ด้ายการเปลี่ยนแปลงและการปรับตัว พบว่า หลังจากหน่วยงานของรัฐเข้าไปให้การสนับสนุนส่งผลหมู่บ้านได้รับ “การพัฒนา” หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นด้านกายภาพและโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การปรับปรุงด้านถนนหนทาง การมีไฟฟ้าใช้ มีน้ำบาดาล มีการทำรั้วของแต่ละบ้าน หรือการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ เช่น กลุ่มแกะสลักไม้และหิน กลุ่มเลี้ยงวัว มีกองทุนพัฒนาหมู่บ้าน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อมองในภาพรวมแล้วดูเหมือนว่ากระบวนการพัฒนาไปเป็น “บ้านพัมฒนา” นั้น จะทำให้ชาวบ้านมีวิถีชีวิต และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพราะปัจจุบันหมู่บ้านมีชื่อเสียงในแง่ของการแกะสลักไม้และหิน จนเป็นที่เลื่องลือถึงระดับประเทศ (คล้าย ๆ กับหมู่บ้าน OTOP ของประเทศไทย) แต่อย่างไรก็ตามมีผลด้านทรัพยากรธรรมชาติ
หากภาครัฐไม่มีนโยบายครอบคลุมการพัฒนาแบบเคร่งครัดก็จะทำให้ความอุดมสมบูรณ์ทางธรรมชาติลดลง เนื่องจากการผลิตเป็นสินค้าของชาวบ้าน ก็จะยิ่งทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรม รวมทั้งทำให้ความเข้มแข็งของวัฒนธรรมบางอย่างลดลงตามไปด้วย เช่น ระบบเครือญาติ ที่เคยมีความเอื้ออาทรก็จะถูกเปลี่ยนแทนด้วยมูลค่า
|
Title Alternate | The discourse of "Ban Pattana" (Development village) : a case study of Nong Bueng village, Pathoumphone district, Champasak province LAO P.D.R |