Title | การศึกษาแหล่งไขมันที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงปลาหมอไทย |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2563 |
Authors | Phonesavanh Xayaboupha |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Keywords | การเลี้ยงปลาหมอไทย, ปลาหมอไทย, อาหารปลา, แหล่งไขมันในอาหาร, ไขมันในอาหาร |
Abstract | ผลการศึกษาการทดลองเลี้ยงปลาหมอ (Anabas testudineus (Bloch, 1792)) ในระบบถังไฟเบอร์ทรงกลมพื้นทรงกรวย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 80 เซนติเมตร ที่อัตราความหนาแน่น 50 ตัวต่อตารางเมตร ด้วยอาหารที่มีระดับโปรตีน ร้อยละ 40 ร่วมกับการใช้วัตถุดิบที่เป็นแหล่งไขมันเป็นส่วนผสมที่แตกต่างกัน 4 แหล่ง ประกอบด้วย สูตรที่ 1 น้ำมันปลาหมึก สูตรที่ 2 น้ำมันปาล์ม สูตรที่ 3 น้ำมันถั่วเหลือง และ สูตรที่ 4 น้ำมันทานตะวัน ดำเนินการทดลองเลี้ยงเป็นระยะเวลา 75 วัน โดยใช้ปลาหมอทดลองที่มีน้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย เท่ากับ 12.27±0.05, 12.24±0.33, 12.26±0.07 และ 12.42±0.29 กรัม ตามลำดับ (p>0.05) และมีความยาวเริ่มต้นเฉลี่ย เท่ากับ 8.43±0.03, 8.41±0.07, 8.45±0.01 และ 8.43±0.03 เซนติเมตร ตามลำดับ (p>0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า ปลาหมอในแต่ละชุดการทดลองมีค่าน้ำหนักสุดท้ายเฉลี่ย เท่ากับ 27.53±0.38, 29.60±0.09, 28.98±0.12 และ 28.37±0.14 กรัม ตามลำดับ โดยมีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) ความยาวสุดท้ายเฉลี่ย เท่ากับ 14.91±0.99, 15.69±2.29, 13.96±1.52 และ 13.79±2.65 เซนติเมตร ตามลำดับ โดยไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p>0.05) ค่าอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ เท่ากับ 1.08±0.02, 1.18±0.04, 1.15±0.01 และ 1.10±0.08 เปอร์เซ็นต์ต่อวัน ตามลำดับ โดยมีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่ปลาหมอในทุกชุดการการทดลอง พบว่า มีอัตรารอดตายเท่ากัน คิดเป็นร้อยละ 100 และมีอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ เท่ากับ 3.54±0.08, 3.24±0.08, 3.31±0.10 และ 3.61±0.24 ตามลำดับ มีความแตกต่างทางสถิติ (p<0.05) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางโภชนาการของเนื้อปลาทดลอง พบว่าแหล่งไขมันในอาหารทดลองทั้ง 4 สูตร ไม่มีผลทำให้ปริมาณของ โปรตีน ไขมัน และเถ้า ในเนื้อปลาแตกต่างกันทางสถิติ (p>0.05) จากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า แหล่งไขมันที่นำมาเป็นส่วนผสมในอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอไทยคือ น้ำมันปาล์ม รองลงมา คือน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน และ น้ำมันปลาหมึก ตามลำดับ จากผลการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่า แหล่งไขมันที่นำมาเป็นส่วนผสมในอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของปลาหมอไทยคือ น้ำมันปาล์ม รองลงมา คือน้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันทานตะวัน และ น้ำมันปลาหมึก ตามลำดับ |
Title Alternate | A study on the optimal sources of dietary lipid for Climbing perch (Anabas testudineus (BLOCH, 1972)) culture |