Title | ประสิทธิภาพการใช้กากมะพร้าวหมักในอาหารสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii (De Man,1879)) ในบ่อซีเมนต์ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2563 |
Authors | Vilakone Xayasene |
Degree | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ |
Institution | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Keywords | กากมะพร้าวหมักอีเอ็ม, การเลี้ยงกุ้งก้ามกราม, การเลี้ยงกุ้งในบ่อซีเมนต์, อาหารเลี้้ยงกุ้งก้ามกราม |
Abstract | การศึกษาประสิทธิภาพการใช้กากมะพร้าวหมักในอาหารสำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii De Man, 1879) ในบ่อซีเมนต์ขนาด 3 x 4 เมตร) เป็นเวลา 90 วันการทดลองประกอบด้วย 5 ทรีตเมนต์ ชุดการทดลองที่ 1 ชุดควบคุม (อาหารสำเร็จรูป) ชุดการทดลองที่ 2 อาหารผสมกากมะพร้าว 10% ชุดการทดลองที่ 3 อาหารอาหารผสมกากมะพร้าว 15% ชุดการทดลองที่ 4 อาหารอาหารผสมกากมะพร้าว 20% และ ชุดการทดลองที่ 5 อาหารผสมกากมะพร้าว 25% ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 90 วัน โดยใช้กุ้งทดลองที่มีน้ำหนักเฉลี่ยเริ่มต้น 5.28±0.27, 4.72±1.50, 5.45±0.75, 5.31±0.35 และ 5.52±1.80 กรัมตามลำดับ (P>0.05) เมื่อสิ้นสุดการทดลอง พบว่า 21.87±4.32 23.29±1.85 19.22±2.45 18.38±2.81 และ 18.04±1.39 กรัม ตามลำดับ มีความแตกต่างกันทางสถิติ (P<0.05) อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเฉลี่ยของกุ้งก้ามกรามชุดการทดลองที่ 2 มีค่าสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) รองลงมา คือ ชุดการทดลองที่ 1 3 5 และ 4 มีค่าเท่ากับ 1.42±0.12 1.30±0.64 1.25±0.14 1.19±0.24 และ 1.17±0.09 ตามลำดับ สอดคล้องกับอัตราแลกเนื้อ ซึ่งชุดการทดลองมีค่าต่ำสุดอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) รองลงมา คือ ชุดการทดลองที่ 1 3 4 และ 5 มีค่าเท่ากับ 1.7±0.20 2.10±0.29 2.2±0.56 2.5±0.17 และ 2.7±0.23 ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม อัตรารอดตายของทุกชุดการทดลองและมีไม่ความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีในเนื้อกุ้งพบว่าระดับโปรตีนและไขมัน หลังจากกุ้งได้รับอาหารทุกชุดการทดลองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.05) ในขณะที่เถ้าและความชื้นไม่มีความแตกต่างทางสถิติหลังได้รับอาหารทดลอง (P>0.05) |
Title Alternate | The efficacy of fermented coconut meal dietary for giant freshwater prawn ((Macrobrachium rosenbergii (De Man,1879)) culture in the concrete pond |