แนวทางการยกระดับคุณภาพการบริการร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวชาวลาว นครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Titleแนวทางการยกระดับคุณภาพการบริการร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวชาวลาว นครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2563
Authorsกิแก้ว แสงพระจันทร์
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยวและบริการ
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsกระบวนการให้บริการ, การท่องเที่ยว, คุณภาพการบริการ, ธุรกิจร้านอาหาร, นักท่องเที่ยว, ร้านอาหาร
Abstract

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษา (1) กระบวนการให้บริการร้านอาหารสำหรับนักท่องเที่ยวชาวลาว ที่นครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (2) ประเมินคุณภาพการให้บริการร้านอาหาร สำหรับนักท่องเที่ยวชาวลาว ที่นครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ (3) แนวทางการยกระดับคุณภาพการบริการร้านอาหารสาหรับนักท่องเที่ยวชาวลาว นครปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยแบบผสม ซึ่งประกอบไปด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างคือ นักท่องเที่ยวชาวลาวจำนวน 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์สถิติทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ประกอบการธุรกิจและพนักงานในร้านอาหารจำนวน 10 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจัดหมวดหมู่เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
(1) กระบวนการให้บริการร้านอาหาร ซึ่งมีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย (1) ขั้นตอนก่อนให้บริการ (2) ขั้นตอนขณะให้บริการ และ (3) ขั้นตอนหลังการให้บริการ
(2) การประเมินคุณภาพการให้บริการร้านอาหาร นักท่องเที่ยวชาวลาวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุ 41-50 ปี สถานภาพสมรส ภูมิลำเนาอยู่ที่แขวงสะหวันนะเขต มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท มีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการร้านอาหาร โดยภาพรวมนักท่องเที่ยวมีความคาดหวังสูงกว่าการรับรู้ต่อการให้บริการร้านอาหารในด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการและด้านความเข้าอกเข้าใจ อย่างไรก็ตาม ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ด้านการประกันคุณภาพ นักท่องเที่ยวยังมีการรับรู้สูงกว่าความคาดหวัง อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่มีอายุและสถานภาพแตกต่างกันมีการรับรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
(3) แนวทางการยกระดับคุณภาพการให้บริการร้านอาหาร ประกอบไปด้วย (1) ด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการ ควรมีการออกแบบร้านอาหารให้มีเอกลักษณ์ มีอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ได้มาตรฐาน (2) ด้านความเชื่อถือไว้วางใจได้ มีการให้บริการที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว มีอุปกรณ์เสริมและพื้นที่สำหรับครอบครัวที่มีเด็ก ๆ หรือผู้สูงอายุมาใช้บริการ (3) ด้านการตอบสนองต่อลูกค้า พนักงานรับรายการอาหารและเครื่องดื่มอย่างรวดเร็ว มีการแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบอย่างชัดเจน (4) ด้านการประกันคุณภาพ มีการจัดอบรมพนักงาน เพื่อให้พนักงานความเชี่ยวชาญในการให้บริการได้เป็นอย่างดีและเป็นมืออาชีพ และ (5) ด้านความเข้าอกเข้าใจ พนักงานทักทายนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการด้วยรอยยิ้มและความเป็นมิตร มีความกระตือรือร้น และรับฟังความคิดเห็นหรือคำติชม เพื่อนำกลับไปปรับใช้ในครั้งต่อไป

Title Alternate Approaches for improving restaurant service quality for Lao tourists in Pakse, Champasak province, the Lao people's democratic republic