การประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบภายหลังได้รับยาเคมีบำบัดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบภายหลังได้รับยาเคมีบำบัดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2564
Authorsนนทิกุล ผาสุขมูล
Numberเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsผู้ป่วยมะเร็ง, ภาวะปลายประสาทอักเสบ, ระบบประสาทรับความรู้สึก, ระบบประสาทสั่งการ, ระบบประสาทอัตโนมัติ, เคมีบำบัด, โรคมะเร็ง
Abstract

หลักการและเหตุผล: ภาวะปลายประสาทอักเสบเป็นอาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้ภายหลังการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด การเกิดภาวะปลายประสาทอักเสบในระดับรุนแรงส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการรักษาและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็ง
วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างการเปลี่ยนแปลงคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งระหว่างกลุ่มที่เกิดภาวะปลายประสาทอักเสบในระดับความรุนแรง 0-1 และกลุ่มที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบในระดับ 2 ขึ้นไป
วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบติดตามไปข้างหน้า (Prospective cohort study) ติดตามผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดก้อน (Solid tumors) ที่เข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ณ หอผู้ป่วยเคมีบาบัด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.2563 ถึง 31 ม.ค.2564 ประเมินคุณภาพชีวิตภาวะปลายประสาทอักเสบด้วย The Quality of Life Questionnaire-Chemotherapy-Induced Peripheral Neuropathy Thai version. (EORTC QLQ-CIPN20) และแบบประเมินระดับความรุนแรงด้วย Common Terminology Criteria for Adverse Events (CTCAE version 5.0) และ Numerical rating scale (NRS) วิเคราะห์ผลความแตกต่างของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตด้วยสถิติ Mann-Whitney U-test และวิเคราะห์ผลความสัมพันธ์ด้วยสถิติ Simple linear regression
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 70 ราย เกิดภาวะปลายประสาทอักเสบจานวน 47 ราย (ร้อยละ 67.14) ส่วนใหญ่เป็นชนิดระบบประสาทรับความรู้สึก จานวน 41 ราย (ร้อยละ 58.57) มีความรุนแรงในระดับ 2 ขึ้นไป จำนวน 12 ราย (ร้อยละ 29.27) การเปลี่ยนแปลงคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมในผู้ป่วยที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบ grade 2 ขึ้นไปเพิ่มขึ้น 12.22±11.11 คะแนน มากกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบ grade 0-1 เพิ่มขึ้น 3.33±6.67 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value < 0.05) เช่นเดียว คุณภาพชีวิตด้านระบบประสาทรับความรู้สึก และคุณภาพชีวิตด้านระบบประสาทสั่งการที่พบผู้ป่วยที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบ grade 2 ขึ้นไปมีการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตที่มากกว่าผู้ป่วยที่มีภาวะปลายประสาทอักเสบ grade 0–1 นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์โดยตรงของการเปลี่ยนแปลงคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมกับความรุนแรงจากการประเมินด้วย CTCAE version 5.0 (P-value <0.05; ß=4.672; R2=0.357) และระดับความรุนแรงตามแบบประเมิน NRS กับคะแนนการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตด้านระบบประสาทรับความรู้สึก (P-value = 0.01; ß=1.86; R2=0.10)
สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัดและเกิดภาวะปลายประสาทอักเสบในระดับความรุนแรง (grade 2 ขึ้นไป) มีคุณภาพชีวิตที่แย่ลงเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยที่เกิดอาการในระดับที่ไม่รุนแรง (grade 0–1) และความรุนแรงของภาวะปลายประสาทอักเสบที่เพิ่มขึ้นส่งผลทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยแย่ลง

Title Alternate Evaluation of quality of life from chemotherapy induced peripheral neuropathy in cancer patients at Sunpasitthiorasong hospital Ubon Ratchathani province