การเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรที่สองในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีการรักษาล้มเหลวจากยาสูตรแรก: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย

Titleการเปรียบเทียบประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรที่สองในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีการรักษาล้มเหลวจากยาสูตรแรก: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและการวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2563
Authorsนิจวรรณ ชื่นไมตรี
Degreeเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
KeywordsAIDS, การรักษาโรคเอดส์, การวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย, การใช้ยาต้านไวรัส, ความปลอดภัยของการใช้ยา, ยาต้านไวรัสเอชไอวี, โรคเอดส์
Abstract

ผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีที่มีความล้มเหลวจากยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรแรกนั้นมีจานวนที่เพิ่มมากขึ้นผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาสูตรที่สอง การเลือกยาสูตรที่สองอย่างเหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างมาก อย่างไรก็ตามผลการศึกษาที่ผ่านมายังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในการเปรียบเทียบกับสูตรยาต้านไวรัสเอชไอวีมาตรฐานของสูตรที่สอง ตามแนวทางการรักษาขององค์กรอนามัยโลก(lopinavir/ritonavir (LPV/r)+2NRTIs) การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลและความปลอดภัยของการใช้ยาต้านไวรัสเอชไอวีสูตรที่สองในผู้ป่วยที่มีความล้มเหลวจากยาสูตรแรก โดย วิธีการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมานเครือข่าย ทำการสืบค้นงานวิจัยแบบRandomized controlled trials จากฐานข้อมูล Pubmed, Embase, Cochrane CentralRegister of controlled Trials, Clinicaltrial.gov และ the international Clinical trialsRegistry Platform โดยสืบค้นจนถึงธันวาคม 2563 ผลลัพธ์ที่วัด ได้แก่ การกดเชื้อไวรัสในเลือด,การเพิ่มขึ้นของระดับซีดี4, อัตราการตายจากภาวะ AIDs defining illness และเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ชนิดร้ายแรง ใช้โมเดลการวิเคราะห์แบบสุ่ม และแสดงผลด้วยอัตราเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative risk, RR) หรือความแตกต่างของค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนัก (Weighted mean difference, WMD)และประมาณค่า Surface Under the Cumulative RAnking Curve (SUCRA) จากงานวิจัยพบว่า มีการศึกษาที่ถูกคัดเข้าตามเกณฑ์ 7 ฉบับ มีผู้ป่วยทั้งหมด 3,819 ราย คุณภาพการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับต่ำถึงต่ำมาก โดยทั้งหมดเป็นผู้ป่วยที่ล้มเหลวจากยาต้านไวรัสสูตรแรกเป็นสูตร NNRTIs based ระยะเวลาในการศึกษาที่ 48 สัปดาห์ มีกลุ่มควบคุมเป็นสูตรยามาตรฐานที่เป็นสูตรที่สอง (2NRTIs+bPIs) ผลการศึกษาพบว่าสูตรยาต้านไวรัสสูตรที่สองที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ 2NRTIs+DTG มีประสิทธิผลในการกดเชื้อไวรัสในกระแสเลือดให้น้อยกว่า 400 และ 50 copies/ml มากกว่ากลุ่มควบคุมที่เป็นสูตรที่สอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR 1.14, 95% CI 1.04 - 1.26 และ
RR 1.20, 95% CI 1.10-1.31 ตามลำดับ) ในเรื่องการเกิดอาการข้างเคียงทางระบบทางเดินอาหารมีความปลอดภัยมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (RR 0.25, 95% CI 0.13 – 0.48) และส่วนผลลัพธ์อื่น ๆ พบว่าไม่แตกต่างกัน ในการทดสอบความไวของการศึกษาพบว่า มีลำดับของสูตรยาที่มีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ในอนาคตหากรวบรวมการศึกษาที่มีคุณภาพสูงในจำนวนที่มากขึ้นพร้อมกับระยะเวลาในการศึกษาที่นานขึ้น เพื่อดูในเรื่องความปลอดภัยจะทำให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือและน่าไปใช้ประโยชน์ในทางคลินิกได้มากยิ่งขึ้น

Title Alternate Comparative efficacy and safety of second-line antiretroviral therapy for treatment failure of HIV infection: a systematic review and network meta-analysis