Title | สวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2564 |
Authors | นิธิศ ธานี |
Degree | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาเภสัชศาสตร์ |
Institution | คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Keywords | ผู้สูงอายุ, สวัสดิการ, สวัสดิการสังคม |
Abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการได้รับสวัสดิการสังคมและความต้องการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในมุมมองของผู้รับบริการ และการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในมุมมองผู้ให้บริการ ของจังหวัดอุบลราชธานี โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นการศึกษาแบบผสมวิธีได้แก่ การวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุ 800 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยตรง ด้วยแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นจากมาตรฐานการจัดบริการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ ของกระทรวงมหาดไทย การประเมินการจัดการสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุใช้การเปรียบเทียบความสอดคล้องระหว่างความต้องการและการได้รับสวัสดิการจากภาครัฐของผู้สูงอายุ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพในระยะที่ 1 ใช้การสนทนากลุ่ม เพื่อขยายมุมมองและสร้างความเข้าใจต่อการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุให้ชัดเจน ส่วนระยะที่ 2 เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคล ผู้ให้ข้อมูลคือบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และ หน่วยงานระดับจังหวัด วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพทั้งสองระยะด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของกระทรวงมหาดไทยแบ่งออกเป็น 6 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านสุขภาพและรักษาพยาบาล (2) ด้านรายได้ (3) ด้านที่พักอาศัย (4) ด้านนันทนาการ (5) ด้านความมั่นคงทางสังคม ครอบครัว ผู้ดูแล และการคุ้มครอง และ (6) ด้านการสร้างบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน ผลการศึกษาระยะที่ 1 พบว่าสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลเป็นด้านที่จัดบริการได้ดีที่สุดและสอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุเมื่อเทียบกับด้านอื่น ๆ โดยผู้สูงอายุได้รับการรักษาพยาบาลฟรีภายใต้โครงการหลักประสุขภาพถ้วนหน้าของรัฐบาล ส่วนสวัสดิการด้านรายได้พบว่ารัฐจัดสรรเบี้ยยังชีพได้อย่างทั่วถึงในเวลาที่เหมาะสมแต่กลุ่มตัวอย่างยังต้องการเงินทุน คำแนะนำ ตลอดจนทักษะการประกอบอาชีพเพื่อความมั่นคงด้านการเงิน นอกจากนี้ส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการด้านที่พักอาศัยน้อยกว่าความต้องการ โดยรัฐช่วยปรับปรุงที่พักและสภาพแวดล้อมให้สะดวกและปลอดภัยในการอยู่อาศัยได้ไม่เพียงพอ ในด้านนันทนาการผู้สูงอายุส่วนใหญ่ได้เข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมของชุมชนในงานสำคัญต่าง ๆ ส่วนสวัสดิการด้านความมั่นคงฯ พบว่าการสงเคราะห์การจัดงานศพและการช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ผู้สูงอายุกลุ่มเปราะบางยังไม่เพียงพอ ส่วนสวัสดิการด้านการสร้างบริการและเครือข่ายเกื้อหนุน โดยการจัดให้มีการดูแล |
Title Alternate | Social welfare for the elderly in Ubon Ratchathani province |