คุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีษะเกษ

Titleคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีษะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2564
Authorsวริษฐา อิงคสมภพ
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsการทำงานในโรงพยาบาล, คุณภาพชีวิต, บุคลากรโรงพยาบาล
Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน 3) ศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เงินเดือน ระยะเวลาปฏิบัติงาน ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการในทำงานของบุคลากร โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามสถิติที่ใช้คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ความแตกต่าง (T-test) สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวน (F-test) และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis) ระหว่างเดือนมิถุนายน 2563 ถึงเดือนสิงหาคม 2564 ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีช่วงอายุ 25 – 34 ปี สถานภาพ คือ โสด ระดับการศึกษาสูงสุด คือ ระดับปริญญาตรี ได้รับเงินเดือนช่วง 10,001 – 20,000 บาท
มีระยะเวลาปฏิบัติงานอยู่ในช่วง 5–14 ปี ตำแหน่งพยาบาล และเป็นสายวิชาชีพ มีระดับความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.29 โดยเรียงระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จากมากไปหาน้อยที่สุด คือ การยอมรับ ความสัมพันธ์กับผู้บังคับบัญชา ความพร้อมของทรัพยากรที่มีอยู่ เสถียรภาพของการทำงาน การปกครองตนเอง และค่าจ้างและประโยชน์ที่ได้รับ (3.61, 3.50, 3.48, 3.36, 3.04, 2.76 ตามลำดับ) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษาสูงสุดและสายวิชาชีพ ที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P>.05) แต่เงินเดือน ระยะเวลาปฏิบัติงาน และตำแหน่ง ที่แตกต่างมีความคิดเห็นต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) นอกจากนั้นยังพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรโรงพยาบาลกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเพียงปัจจัยเดียว คือ ด้านเงินเดือน ที่ส่งผลเชิงบวกต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05)

Title Alternate Quality of working life of personnel at Kantharalak hospital, Si sa ket province