การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนม ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี

Titleการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนม ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2563
Authorsอรสา แถบเกิด
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชานวัตกรรมการท่องเที่ยว
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsกลุ่มแม่บ้านทอผ้า, การพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์, ของที่ระลึก, ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก, วิสาหกิจชุมชน
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในปัจจุบันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนม ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี (2) เพื่อออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนม ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี และ (3) เพื่อเสนอต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนม ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย สมาชิกชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนมฯ จำนวน 15 คน นักเรียนนักศึกษาที่กำลังศึกษาแผนกวิชาแฟชั่นและสิ่งทอ วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี จำนวน 10 คน ผู้เชี่ยวชาญและตัวแทนเจ้าของธุรกิจจำหน่ายสินค้าที่ระลึก จำนวน 13 คน รวมจำนวน 38 คน ซึ่งสุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิคแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกในปัจจุบันของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนม ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ผลการวิจัยสามารถสรุปเป็นรายด้าน ดังนี้ (1) การใช้สอย ผลิตภัณฑ์ผ้าทอของสมาชิกชุมชนฯ นั้นหลังจากผู้บริโภคซื้อผลิตภัณฑ์แล้วยังต้องใช้เวลาในการตัดเย็บแปรรูปให้เป็นเสื้อผ้าหรือของใช้อย่างอื่นก็จะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายมากขึ้น (2) ความสวยงามน่าใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมและเป็นสินค้าที่จำหน่ายได้ดีนั่นคือ ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติที่มีสีสันที่สวยงามตามธรรมชาติ แต่ยังคงพบปัญหาในเรื่องของการควบคุมสีธรรมชาติ (3) ความสะดวกสบายในการใช้ ผู้บริโภคบางกลุ่มจะเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ ผ้าทอของสมาชิกฯ ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปแล้วเนื่องจากสามารถนำมาใช้ได้อย่างสะดวกสบาย เช่น ผ้าถุงสาเร็จรูป ชุดลำลองสำหรับสุภาพสตรีหรือเสื้อเชิ้ตสำหรับสุภาพบุรุษ (4) ความปลอดภัย ปัญหาของสมาชิกในกลุ่มส่วนใหญ่ใช้ทักษะความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาตั้งแต่รุ่นบรรพบุรุษ ยังขาดองค์ความรู้ในเรื่องผลกระทบการใช้วัตถุดิบย้อมผ้าจากธรรมชาติบางชนิด ต้องการได้รับการพัฒนาองค์ความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการคัดเลือกวัสดุจากธรรมชาติบางชนิดที่แตกต่างจากวัตถุดิบตัวเดิมที่เคยใช้ เพื่อให้การย้อมผ้ามีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น (5) ความแข็งแรงประธานกลุ่มจัดหาซื้อวัสดุที่ใช้ในการทอ มาให้แก่สมาชิกผู้ทำหน้าที่ทอในกลุ่ม บางครั้งก็ไม่สามารถหาซื้อวัตถุดิบที่มีคุณภาพเท่าเดิม อีกทั้งระหว่างการทอยังขาดการตรวจสอบความแข็งแรงของเส้นด้าย (6) ราคา การกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์แปรรูปกำหนดแบ่งกลุ่มตามชนิดของเส้นฝ้ายที่นำมาใช้ทอ ส่วนในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ประเภทเสื้อผ้าสตรี กระเป๋า ยังต้องคำนึงถึงราคาในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มได้หลายชิ้น (7) วัสดุ ผลิตภัณฑ์ผ้าทอได้เลือกใช้วัสดุจากธรรมชาติมาช่วยในการย้อมเพื่อให้ได้สีตามธรรมชาติ เนื่องจากปัญหาด้านมีงบประมาณน้อยจึงส่งผลต่อปัญหาที่สมาชิกไม่สามารถกักตุนวัสดุที่เป็นมาตรฐานเดียวกันไว้ได้ (8) กรรมวิธีการผลิต กรรมวิธีการผลิตของผ้าทอนั้นได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ จากรุ่นสู่รุ่น ถ้าหมดรุ่นของสมาชิกกลุ่มแล้วยังไม่มีทายาทที่จะ สืบสานต่อเรื่องกรรมวิธีการผลิต วิธีการทอหรือแม้กระทั่งการออกแบบลวดลายผ้าทอแบบใหม่ ๆ (9) การบำรุงรักษาและซ่อมแซม ผลิตภัณฑ์ผ้าทอทุกผืนสามารถซ่อมแซมได้ ผ้าทอที่ผู้บริโภคนำไปใช้จนเกิดการชำรุดแล้วจะสามารถซ่อมแซมได้เพียงระดับหนึ่ง ด้วยวิธีการ เย็บ ปะ ชุน แต่ไม่สามารถทำให้เหมือนเดิมร้อยเปอร์เซ็นต์ และ (10) การขนส่ง ในการทอผ้าแต่ละครั้งสมาชิกจะทอตามที่ผู้บริโภคสั่ง ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่จะเป็นการจัดส่งผ้าทอยกม้วน ตัวแทนสมาชิกจะนำออกจำหน่ายกับกลุ่มโอทอป ค่อนข้างจะใช้พื้นที่ในการจัดวางขณะลำเลียงสินค้าออกจำหน่าย
กระบวนการการออกแบบและพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนม ใช้การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ “เรื่องการออกแบบสินค้าที่ระลึกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนม ตำบลบัวงาม อำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ได้ใช้แนวคิดหลักการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีการกำหนดขั้นตอนการออกแบบสินค้าที่ระลึกของกลุ่มฯ โดยเกิดจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาในปัจจุบันของผลิตภัณฑ์กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนม ตาบลบัวงาม อาเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี ตามลำดับขั้นตอนดังนี้ (1) การร่างภาพ (2) การเขียนแผนภาพ (3) การเขียนผังงาน (4) การสร้างแบบจำลอง โดยกำหนดต้นแบบผลิตภัณฑ์ไว้ 8 แบบ หลังจากผลิตชิ้นงานครบตามกำหนด ผู้วิจัยได้นำต้นแบบทั้ง 8 แบบ เพื่อรับการประเมินและรับข้อแนะนำในการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งพบว่า มีเพียง 5 แบบ ที่สามารถนำมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกแก่สมาชิกชุมชนบ้านหนองสนมฯ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านทอผ้าและตัดเย็บชุมชนบ้านหนองสนม ต้นแบบ เป็นจำนวน 5 ต้นแบบ โดยมีชิ้นงาน คือ กระเป๋าทรงเหลี่ยม หูหิ้วแก้วเยติ กระเป๋าเดินทาง ผ้ารองจาน และ ผ้ารองแก้ว

Title Alternate The development of souvenir product prototype for woven fabrics and sewing Nongsanom community enterprise, Buangam subdistrict, Det Udom district, Ubon Ratchathani province