การพัฒนาทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมและแนวคิด เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ด้วยชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่อง หุ่นยนต์เดินตามเส้นอัตโนมัติ

Titleการพัฒนาทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมและแนวคิด เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ด้วยชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่อง หุ่นยนต์เดินตามเส้นอัตโนมัติ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2563
Authorsเอกพงศ์ บัวชุม
Degreeปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
Institutionคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม, การสอนวิทยาศาสตร์, การออกแบบเชิงวิศวกรรม, กิจกรรมสะเต็มศึกษา
Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาประสิทธิภาพของหุ่นยนต์เดินตามเส้นอัตโนมัติ (2) ออกแบบและพัฒนาชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษา เรื่อง หุ่นยนต์เดินตามเส้นอัตโนมัติ (3) พัฒนาทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมและแนวคิด เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จานวน 27 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบไปด้วย หุ่นยนต์เดินตามเส้นอัตโนมัติ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดความเข้าใจ แบบประเมินทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม การจัดการเรียนรู้ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 6 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 นักเรียนร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาจากสถานการณ์ที่กำหนด จากนั้นกำหนดเงื่อนไขในการออกแบบและสร้างหุ่นยนต์ ขั้นที่ 2 นักเรียนรวบรวมข้อมูลและแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาจากหุ่นยนต์ต้นแบบ จากนั้นออกแบบวงจรเซนเซอร์อินฟราเรดและวงจรควบคุมมอเตอร์ ขั้นที่ 3 นักเรียนนำความรู้จากการรวบรวมข้อมูลมาใช้ออกแบบวงจรไฟฟ้าของหุ่นยนต์และโครงสร้างของหุ่นยนต์ ขั้นที่ 4 นักเรียนสร้างหุ่นยนต์ตามที่ออกแบบไว้ ขั้นที่ 5 นักเรียนทดสอบหุ่นยนต์โดยใช้แอปพลิเคชัน Phyphox วัดความเร่งของหุ่นยนต์ และขั้นที่ 6 นักเรียนนำเสนอผลงานโดยการแข่งขันหุ่นยนต์ ผลการวิจัยพบว่า หุ่นยนต์เดินตามเส้นอัตโนมัติที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพร้อยละ 98.51 จากการประเมินความก้าวหน้าทางการเรียนด้วยวิธีของ Hake นักเรียนมีความก้าวหน้าในทักษะกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม อยู่ในระดับ ปานกลาง เท่ากับ 0.67 และมีความก้าวหน้าในความเข้าใจในแนวคิดฟิสิกส์ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ อยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 0.60

Title Alternate Development of engineering design process skills and force and motion concept with line follower robot STEM education activities