การเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของประชาคมปลาในแม่น้ำตาปีตอนล่าง

Titleการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของประชาคมปลาในแม่น้ำตาปีตอนล่าง
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2564
Authorsวัฒนา หนูนิล
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาเกษตรศาสตร์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsความชุกชุมของปลา, ความหลากหลายของปลา, ปลา, ปลาในแม่น้ำ, แม่น้ำตาปี
Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าและติดตามการเปลี่ยนแปลงของดัชนีความหลากหลายและความสมบูรณ์ของประชาคมปลา ประมาณค่าติดตามการเปลี่ยนแปลงความชุกชุมของปลาใน เชิงผลจับต่อหน่วยการลงแรงประมง และศึกษาประชาคมปลาในแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสุ่มตัวอย่างด้วยเครื่องมือข่าย 6 ขนาดช่องตาใน 4 จุดเก็บตัวอย่าง ของ 4 ช่วงเวลารวบรวมข้อมูลใน ปี พ.ศ. 2558–2562 นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ความหลากหลาย ความชุกชุม โครงสร้างและการแพร่กระจายของประชาคมปลา ดัชนีบ่งชี้สภาพนิเวศ และการกระจายของประชาคมปลาโดยเส้นโค้งการจัดลำดับความชุกชุม
ผลการศึกษาพบชนิดพันธุ์ปลาในแม่น้ำตาปีรวม 108 ชนิด 38 วงศ์ พบพันธุ์ปลาในวงศ์ Cyprinidae มากที่สุด 34 ชนิด องค์ประกอบของโครงสร้างชนิดปลาโดยจำนวนและน้ำหนัก พบปลาซ่ามากที่สุดร้อยละ 18.95 ของจำนวนปลาทั้งหมด และมีน้ำหนักมากที่สุดร้อยละ 16.40 ของน้ำหนักปลาทั้งหมด ค่า CpUE เฉลี่ย 1790.84 ± 251.58 กรัมต่อพื้นที่ข่าย 100 ตารางเมตรต่อคืน และพบว่าค่า CpUE ของประชาคมปลาตามฤดูกาลในจุดเก็บตัวอย่างที่ 4 มีค่าสูงสุดในทุกฤดูกาล ยกเว้นในฤดูฝนซึ่งพบจุดเก็บตัวอย่างที่ 1 มีค่า CpUE สูงสุด โอกาสพบชนิดพันธุ์ปลาตามจุดเก็บตัวอย่างและฤดูกาลที่มีความถี่เป็นประจำมากกว่าร้อยละ 80 มีจำนวน 15 ชนิด การแพร่กระจายของปลาแต่ละวงศ์ในแม่น้ำตาปี เมื่อจำแนกตามจุดเก็บตัวอย่างสูงสุด 3 อันดับแรกได้แก่ปลาในวงศ์ Cyprinidae พบสูงสุดในจุดเก็บตัวอย่างที่ 1 รองลงมาคือปลาในวงศ์ Bagridae และ Siluridae พบสูงสุดในจุดเก็บตัวอย่างที่ 3 เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ Kruskal-Wallis test ค่าความมากชนิดระหว่างจุดเก็บตัวอย่าง พบค่า P-values เท่ากับ 0.16 ระหว่างฤดูกาลพบค่า P-values เท่ากับ 0.36 ค่าความหลากหลายของชนิดพันธุ์ระหว่างจุดเก็บตัวอย่างพบค่า P-values เท่ากับ 0.38 ระหว่างฤดูกาลพบค่า P-values เท่ากับ 0.96 ค่าความชุกชุมของชนิดพันธุ์ ระหว่างจุดเก็บตัวอย่างพบค่า P-values เท่ากับ 0.45 ระหว่างฤดูกาล พบค่า P-values เท่ากับ 0.31 ค่าความเท่าเทียมระหว่างจุดเก็บตัวอย่างพบค่า P-values เท่ากับ 0.10 ระหว่างฤดูกาลพบค่า P-values เท่ากับ 0.84 เมื่อนำมาวิเคราะห์ทางสถิติพบไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ค่าสถิติ W ของกราฟการเปรียบเทียบความชุกชุมและมวลชีวภาพของประชาคมปลา จากการศึกษาแสดงให้เห็นประชาคมปลาถูกรบกวนต่ำถึงปานกลางในจุดเก็บตัวอย่างที่ 1 แต่ถูกรบกวนอย่างหนักในจุดเก็บตัวอย่างอื่น ๆ รูปแบบของประชาคมพบวงศ์ Cyprinidae เป็นชนิดเด่นที่มีความสำคัญในทุกครั้งของการสุ่มตัวอย่าง การทดสอบความแปรปรวน พบองค์ประกอบของวงศ์ผันแปรทั้งในแง่ของฤดูกาล (P=0.08) และตามจุดสำรวจ (P<0.01) ผลของการทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่มยังระบุว่าแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P=0.001)

Title Alternate Seasonal variation in fish-assemblage patterns in the lower Tapee river, Southern Thailand
Fulltext: