การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านเชียงแมน เมืองจอมเพ็ค แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Titleการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านเชียงแมน เมืองจอมเพ็ค แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsจันทึก พันทะวงศ์
Degreeบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว
Institutionคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberG จ243
Keywordsการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยว -- การจัดการ -- ลาว -- หลวงพระบาง
Abstract

การศึกษาเรื่อง การพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน : กรณีศึกษาชุมชนบ้านเชียงแมน เมืองจอมเพ็ด แขวงหลวงพระบาง สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาสภาพการณ์และศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในลักษณะต่าง ๆ ที่มีอยู่ในบ้านเชียงแมน (2) เพื่อศึกษามุมมองของผู้นำชุมชนและรัฐกรที่มีต่อองค์ประกอบด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน และ (3) เพื่อเสนอแนะทางเลือกในการพัฒนาการท่องเที่ยวของบ้านเชียงแมนสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ผู้ให้ข้อมูลหลักในการศึกษาครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย รัฐกร ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการกำหนดนโยบาย เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวของบ้านเชียงแมน และกลุ่มผู้นำชุมชนซึ่งเป็นผู้มีบทบาทในฐานะผู้นำท้องถิ่น ที่เป็นผู้นำกิจกรรมในพื้นที่ โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้การสังเกตและการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างในการเก็บข้อมูลและเน้นการนำเสนอข้อมูลในเชิงพรรณนา
ผลการศึกษาด้ายสภาพการณ์ทั่วไปและศักยภาพของพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวบ้านเชียงแมน พบว่า บ้านเชียงแมนมีศักยภาพขององค์ประกอบที่แสดงถึงความพร้อมที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีศักยภาพได้ เนื่องจากเป็นชุมชนที่มีโบราณสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีวัดที่มีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงได้ด้านการเมือง การปกครองของประเทศ สปป.ลาว และเชื่อมโยงได้กับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับประเทศเพื่อนบ้าน มีบ้านเรือนที่คงสถาปัตยกรรมแบบลาวดั้งเดิมและมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการผลิตทางการเกษตร มีบ้านเรือนที่คงสถาปัตยกรรมแบบลาวดั้งเดิมและมีวิถีชีวิต วัฒนธรรม และการผลิตทางการเกษตร ที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่และมีที่ตั้งของพื้นที่ ที่อยู่ใกล้เคียงกับเมืองหลวงพระบางที่สามารถใช้เป็นตัวเชื่อมเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว
ผลการศึกษาจากมุมมองของผู้นำชุมชนและรัฐกรในพื้นที่ศึกษาที่มีต่อองค์ประกอบด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจ ความสะดวกในการเข้าถึง สิ่งอำนวยความสะดวก ขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่ และการประชาสัมพันธ์และการใช้สื่อโฆษณาเพื่อส่งเสริมการตลาดของแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งแม้วจะมีมุมมองที่หลากหลายแต่ส่วนใหญ่แล้วเห็นตรงกันว่า องค์ประกอบเหล่านี้ ยังมีจุดอ่อนในส่วนที่เกี่ยวกับสิ่งอำนวยความสะดวกที่ไม่หลากหลายและไม่เพียงพอ และที่สำคัญด้ายของการให้บริการด้านข้อมูลข่าวสารทางการท่องเที่ยวที่ยังไม่กว้างขวางเท่าที่ควร และทั้ง 2 กลุ่ม ได้ย้ำถึงมุมมองเดียวกันว่า ชุมชนมีความพร้อมด้านแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชนโดยควรยังคงลักษณะของการเข้าถึงชุมชนที่ใช้เรือข้ามฟาก เนื่องจากเป็นเอกลักษณ์สำคัญที่คงความมีเสน่ห์ที่สามารถสร้างความสนใจให้กับนักท่องเที่ยวได้
สำหรับทางเลือกของการพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาการท่องเที่ยวของบ้านเชียงแมนไปสู่ความยั่งยืน พบทางเลือกที่สำคัญ คือ ต้องตระหนักถึงการเป็นแหล่งมรดกทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ควรมีการปรับปรุงเพียงบางส่วนเท่านั้น โดยควรคงรูปเดิมเอาไว้ เพื่อไม่ให้ได้รับการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมและชุมชนควรเน้นจุดเด่นของการดำรงวิถีชีวิตตามธรรมชาติที่เรียบง่าย ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจสามารถใช้เป็นสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชม จำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุง สิ่งอำนวยความสะดวกประเภทที่พัก ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารแก่นักท่องเที่ยว ห้องน้ำสาธารณะ ร้านขายของที่ระลึก การประชาสัมพันธ์ และการใช้สื่อโฆษณาเพื่อพัฒนาการตลาดของแหล่งท่องเที่ยว และต้องกำหนดขีดความสามารถในการรองรับด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวของพื้นที่ การดำเนินการดังกล่าวต้องสอดคล้องกับแนวทางในการพัฒนาสิ่งดึงดูดใจ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่ การปรับปรุงองค์ประกอบเหล่านี้ บนพื้นฐานของการตระหนักถึงความมีเอกลักษณ์ของศักยภาพแหล่งท่องเที่ยว จะทำให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนในพื้นที่บ้านเชียงแมนต่อไป

Title Alternate Sustainable tourism develobment : A case study of Xiengmene village, Chomphet district, Luangprabang province,Lao people's democratic republic