Title | การออกแบบและพัฒนางานกระดาษเหลือใช้เพื่อเป็นของที่ระลึกอีสานใต้ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2552 |
Authors | เจษฎา สายสุข |
Degree | ศิลปประยุกต์มหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ |
Institution | คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TT จ755 |
Keywords | กระดาษ, การออกแบบผลิตภัณฑ์, ของที่ระลึก -- การออกแบบ, ของที่ระลึก -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) -- การออกแบบ, หัตถกรรม -- การออกแบบ |
Abstract | การวิจัยเรื่องกระดาษเหลือใช้เพื่อพัฒนาเป็นของที่ระลึกอีสานใต้ เป็นการศึกษาค้นคว้าวิธีการนำกระดาษเหลือใช้มาประยุกต์ใช้ร่วมกับวัสดุอื่น เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก สำหรับแนวคิดในการออกแบบผู้วิจัยเลือกใช้แรงบันดาลใจจากเอกลักษณ์ต่าง ๆ ในเขตพื้นที่อีสานใต้เป็นกรณีศึกษา ทั้งนี้ได้กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ 3 ประการ ดังนี้ 1) ศึกษารวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษเหลือใช้ และกรรมวิธีการผลิตเป็นงานหัตถกรรม 2) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของอีสานใต้เพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ 3) พัฒนาคุณภาพวัสดุและกระบวนการผลิตเพื่อใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากกระดาษเหลือใช้สำหรับประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงโดยเลือกกลุ่มอาชีพผู้ผลิตงานหัตถกรรมของที่ระลึกจากกระดาษเหลือใช้ที่ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ และได้เลือกเก็บข้อมูลเกี่ยวกับเอกลักษณ์ของอีสานใต้ในด้านศิลปวัฒนธรรม ประเพณี สิ่งก่อสร้างและแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติเพื่อใช้เป็นแนวทางในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกใน 5 จังหวัดอีสานใต้ ประกอบด้วย นครราชสีมา สุรินทร์ บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี จากผลการวิจัยสามารถสรุปผลได้ 3 ประเด็น ดังนี้ 1) การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับกระดาษเหลือใช้และการใช้ในงานหัตถกรรม พบว่า ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากกระดาษในภาคอีสานมี 2 ประเภท คือ ผลิตภัณฑ์ประเภทตั้งพื้นและผลิตภัณฑ์ประเภทแขวน รูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากกระดาษประเภทตั้งพื้น ควรเป็นลักษณะรูปทรงสามมิติ เช่น กระปุกออมสิน ตุ๊กตารูปสัตว์ต่าง ๆ กล่องใส่ของ ที่ใส่ปากกา โต๊ะนั่งรูปสัตว์ และรูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากกระดาษประเภทแขวน ควรเป็นลักษณะงานนูนต่ำหรือนูนสูง เช่น ที่แขวนกระดาษชำระ ตัวการ์ตูนติดตู้เย็นรูปสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้น 2) การศึกษาเอกลักษณ์อีสานใต้ พบว่า 5 จังหวัดอีสานใต้มีเอกลักษณ์ร่วมในหลายประการ เช่น การประกอบอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก มีการไปมาหาสู่และแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ส่วนเอกลักษณ์ที่แตกต่างมีหลายประการ เช่น ประเพณีเด่นประจำจังหวัด เช่น ผีแม่มดของศรีสะเกษ พิธีการแห่ขึ้นเขาพนมรุ้งของจังหวัดบุรีรัมย์ ประเพณีแห่เทียนพรรษาของจังหวัดอุบลราชธานี เป็นต้น 3) การพัฒนาคุณภาพวัสดุและกระบวนการผลิตงานหัตถกรรมจากกระดาษเหลือใช้ พบว่า จากการทดลองกรรมวิธีการผลิต 2 กระบวนการ คือ 1) การขึ้นรูปด้วยวิธีการกดบล็อก 2) การขึ้นรูปด้วยการหล่อ นอกจากนั้นยังได้ทดลองส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการขึ้นรูปจากสูตร A1-A7 พบว่า สูตรที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นเนื้อผลิตภัณฑ์มีอยู่ 3 สูตร คือ A1 A2 และ A3 โดยทั้ง 3 สูตรนี้ได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแล้วสามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้นำสูตร A2 มาทดลองขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์เนื่องจากสูตรดังกล่าวมีการใช้กระดาษเหลือใช้ในปริมาณสูงซึ่งตรงตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 70:10:20 (กระดาษ กาวลาเท็กซ์ ทรายหรือขี้เลื่อย) ผลการทดลองพบว่า สูตร A2 สามารถนำมาขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ได้ด้วยกระบวนการหล่อตัน การกดบล็อกพิมพ์ได้เป็นอย่างดี ส่วนของการศึกษาแนวทางการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับการนำวัสดุจากกระดาษเหลือใช้มาพัฒนาเป็นงานหัตถกรรมของที่ระลึกในระดับท้องถิ่น พบว่า สิ่งที่ควรคำนึงมากที่สุด คือ ด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลการศึกษาในเรื่องรูปแบบผลิตภัณฑ์กระดาษเหลือใช้ในปัจจุบัน พบว่า รูปแบบผลิตภัณฑ์ขาดความหลากหลาย และขาดความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการทางด้านการตลาด |
Title Alternate | A design and development of Southern Esan souvenirs from waste paper |