Title | การศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้จากเศษเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมเพื่อประยุกต์ใช้ในการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2552 |
Authors | ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา |
Degree | ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต -- สาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ |
Institution | คณะศิลปประยุกต์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Call Number | TD ท147 |
Keywords | การใช้ของเสียให้เป็นประโยชน์, ของเสียทางการเกษตร, แผ่นชิ้นไม้อัด, ไม้อัด |
Abstract | วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้จากเศษเหลือทิ้งทางการเกษตรกรรมในภาคอีสาน เพื่อประยุกต์ใช้ในการสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบประเภทเฟอร์นิเจอร์โดยใช้วัสดุเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมในภาคอีสานมาเป็นวัสดุดับหลักในการผลิตวัสดุทดแทนไม้ ผลวิจัยพบว่า เศษเหลือทิ้งทางเกษตรกรรมที่มีศักยภาพในการผลิตวัสดุทดแทนไม้มี 2 ชนิด คือ ยอดใบอ้อยและตอซังข้าว โดยกระบวนการประกอบด้วยการลอกเยื่อตอซังข้าวและยอดใบอ้อยด้วยโซดาไป น้ำ และเกลือ ต้มเป็นเวลา 40 นาที นำไปย้อมสีเคมีและสร้างกลิ่นจากธรรมชาติด้วยขมิ้น ตะไคร้หอมและเปลือกส้ม จะได้เยื่อวัสดุทดแทนไม้ที่มีเส้นใยขนาดเล็กมีสีสันและกลิ่นหอม เยื่อวัสดุทดแทนไม้สามารถขึ้นรูปได้ 2 แบบ คือ (1) การขึ้นรูปแบบแผ่น โดยใช้กาวไอโซไซยาเนต (Isocyanate Resins) 7% เยื่อวัสดุทดแทนไม้ 93% อัดร้อนที่ระดับ 130 องศาเซลเซียส นาน 3 นาที ที่ความดัน 180 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร (2) การขึ้นรูปแบบอิสระ โดยใช้กาวจากเศษพลาสติก PS เช่น แก้วน้ำดื่มพลาสติก ถ้วยไอกรีม ขวดยาคูลย์ ย่อยให้มีขนาด 1 เซนติเมตร แช่ในน้ำมันเบนซิน 24 ชั่วโมง คลุกเคล้ากับเยื่อวัสดุทดแทนไม้จากสูตร พลาสติก PS 20% กับเยื่อวัสดุแทนไม้ 80% อัดลงไนแม่พิมพ์ |
Title Alternate | The study and development of production process of wood substitutes from agricultural wastes for application in the production of prototype products |