วิถีประมงพื้นบ้านในเขตกึ่งเมือง บ้านคูเดื่อ ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Titleวิถีประมงพื้นบ้านในเขตกึ่งเมือง บ้านคูเดื่อ ตำบลแจระแม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsบุปผา สามารถ
Degreeศิลปศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาสังคมศาสตร์และการพัฒนา
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSH บ639ว
Keywordsประมง -- เครื่องมือและอุปกรณ์, ประมงน้ำจืด, ประมงพื้นบ้าน
Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการเครื่องทำวิถีประมงพื้นบ้านการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อการใช้เครื่องมือจับสัตว์น้ำของชุมชนวิถีประมงพื้นบ้าน การประยุกต์และการปรับตัววิถีประมงพื้นบ้านในเขตกึ่งเมือง บ้านคูเดื่อ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเลือกหมู่บ้านที่ทำการวิจัยแบบเจาะจงและการเลือกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ได้แก่ กลุ่มผู้รู้ คือ ผู้นำด้านประกอบพิธีกรรมทางความเชื่อผู้อาวุโสด้านการประดิษฐ์เครื่องมือจับสัตว์น้ำ กลุ่มผู้นำทางการ คือ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครู เจ้าหน้าที่ เกษตรพัฒนาชุมชน ประมงและสมาชิก อบต. กลุ่มผู้ปฏิบัติ คือ ชาวบ้านที่ประกอบอาชีพประมง ชาวบ้านที่ประดิษฐ์เครื่องมือจับสัตว์น้ำ และกลุ่มชาวบ้านทั่วไปจากองค์กรชาวบ้าน พ่อค้าจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือจับสัตว์น้ำ และพ่อค้าที่จำหน่ายปลา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ สังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยใช้เทคนิคการตรวจสอบแบบสามเส้า และนำเสนอผลการวิจัยโดยการใช้วิธีการอธิบายความในเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า บ้านคูเดื่อเป็นชุมชนตั้งอยู่ริมแม่น้ำมูลในเขตพื้นที่กึ่งเมือง มีประวัติการตั้งถิ่นฐานมาแล้วประมาณ 200 กว่าปี กลุ่มคนที่เข้ามาอาศัยเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ พวนลาว ชุมชนแห่งนี้หาเลี้ยงชีพโดยการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ผลิตเกลือ และที่สำคัญ คือ ทำการประมง ชุมชนได้ พัฒนาการการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือจับสัตว์น้ำจากวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่น มาประกอบกันเพื่อใช้จับสัตว์น้ำตามพฤติกรรมของสัตว์น้ำแต่ละชนิดตามลักษณะนิเวศแหล่งน้ำ ผลการวิจัยพบว่า พัฒนาการของวิถีประมงพื้นบ้านในเขตพื้นที่กึ่งเมือง มีพัฒนาการของวิถีประมงพื้นบ้านในเขตพื้นที่กึ่งเมือง มีพัฒนาการในการประดิษฐ์เครื่องมือจับสัตว์น้ำ โดยใช้วัสดุใหม่ที่มีความแข็งแรง ทนทาน น้ำหนักเบา เช่น ใยสังเคราะห์แทนเชือก ป่านและปอ ใช้ท่อพลาสติกแทนไม้ไผ่และไม้เนื้อแข็ง และใช้ลวดแทนเครือซูดหรือหวาย นอกจากนี้ยังพบว่าชุมชนได้ปรับเปลี่ยนวิถีประมงพื้นบ้านเนื่องจากการเปลี่ยนของระบบนิเวศ การขยายตัวของชุมชนอันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรในแต่ละท้องถิ่น การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม และการทำการประมงที่ผิดหลักวิธีการอนุรักษ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลี้ยงปลากระชัง ส่งผลเสียต่อระบบนิเวศและปริมาณสัตว์น้ำ

Title Alternate Local fishery folkways in rurban region: the case study of Ban Khu Due, Jaramae sub-district in Muang district, The province of Ubon Ratchathani
Fulltext: