ระดับการรับรู้และการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

Titleระดับการรับรู้และการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsราชศักดิ์ ทวีแสง
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJS ร427
Keywordsการบริหารรัฐกิจ -- แง่ศีลธรรมจรรยา, ธรรมรัฐ, พนักงานเทศบาลตำบล, หลักธรรมาภิบาล
Abstract

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาระดับการรับรู้และการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล ของเทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความเป็นธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลเสลภูมิ เพื่อศึกษาถึงช่องทางที่ทำให้เกิดการรับรู้และ ระดับการรับรู้
หลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลเสลภูมิ ตลอดจนดูความสัมพันธ์ของการรับรู้หลักธรรมาภิบาลและการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ และเพื่อทราบปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลเสลภูมิ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล หัวหน้าส่วนราชการ พนักงานเทศบาล จำนวน 90 คน และกลุ่มของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเทศบาลตำบลเสลภูมิ จำนวน 390 คน ของตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ผลการศึกษา พบว่า 1. เมื่อพิจารณาความเป็นธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลเสลภูมิพบว่า 1.1 กลุ่มของเจ้าหน้าที่ มีความคิดเห็นว่า ระดับความเป็นธรรมาภิบาลอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในแต่ละด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ คือ หลักนิติธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า หลักความโปร่งใส และหลักคุณธรรม ตามลำดับ 1.2 กลุ่มของประชาชน มีความคิดเห็นว่า ระดับความเป็นธรรมาภิบาลอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลในแต่ละด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้ คือหลักนิติธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ตามลำดับ
2. เมื่อศึกษาถึงช่องทางที่ทำให้เกิดการรับรู้ และระดับการรับรู้หลักธรรมาภิบาลของเทศบาลตำบลเสลภูมิ พบว่า 2.1 กลุ่มของเจ้าหน้าที่ สื่อที่เป็นช่องทางที่ทำให้เกิดการรับรู้หลักธรรมาภิบาลจากมากไปหาน้อย คือ การเผยแพร่หน่วยงานต้นสังกัด เพื่อนร่วมงาน คู่มือธรรมาภิบาล ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี วารสาร หัวหน้าในหน่วยงานหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นหนังสือพิมพ์ โทรทัศน์ การบรรยายจากวิทยากร วิทยุ ตามลำดับ 2.2 กลุ่มประชาชนพบว่า สื่อที่เป็นช่องทางที่ทำให้เจ้าหน้าที่เกิดการรับรู้มากที่สุดไปหาน้อย คือ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ วิทยุ เพื่อนร่วมงาน ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี วารสาร คู่มือธรรมาภิบาล หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นการเผยแพร่หน่วยงานต้นสังกัด การบรรยายจากวิทยากร หัวหน้าในหน่วยงาน ตามลำดับ
3. การรับรู้หลักธรรมาภิบาล พบว่าพบว่า 3.1 กลุ่มเจ้าหน้าที่ มีระดับการรับรู้หลักธรรมาภิบาลโดยรวมอยู่ในระดับการรับรู้มากที่สุด และมีการรับรู้หลักธรรมาภิบาลในแต่ละด้านจากมากไปหาน้อยคือ หลักความโปร่งใสหลักคุณธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า หลักความรับผิดชอบ และหลักนิติธรรม 3.2 กลุ่มของประชาชน มีระดับการรับรู้หลักธรรมาภิบาลโดยรวมอยู่ในระดับรับรู้มาก และมีการรับรู้หลักธรรมาภิบาลในแต่ละด้านจากมากไปหาน้อยคือ หลักความโปร่งใส หลักคุณธรรม หลักการมีส่วนร่วม หลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า
4. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้หลักธรรมาภิบาลกับการนำหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติ 4.1 กลุ่มเจ้าหน้าที่ พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้หลักธรรมาภิบาล กับการนำไปหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ซึ่งในแต่ละด้านเรียงลำดับมากไปหาน้อย คือ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส่ หลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่า 4.2 กลุ่มของประชาชน พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง การรับรู้หลักธรรมาภิบาลกับการนำไปหลักธรรมาภิบาลไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ซึ่งในแต่ละด้านเรียงลำดับมากไปหาน้อย คือ หลักการมีส่วนร่วม หลักความโปร่งใส่ หลักคุณธรรม หลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า

Title Alternate The perception level and good governance based operations of the Selaphum Sub-District Municipal, Selaphum District, Roi-Et Province
Fulltext: