ปัจจัยกำหนดประสิทธิผลโครงการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พพพ.) : กรณีศึกษา พื้นที่เขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี

Titleปัจจัยกำหนดประสิทธิผลโครงการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พพพ.) : กรณีศึกษา พื้นที่เขตอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2552
Authorsแสนคำมูล, อาวุฒิ
Degreeรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
Institutionคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberHN อ667
Keywordsการพัฒนาชนบท, การพัฒนาชุมชน, การพัฒนาหมู่บ้าน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
Abstract

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจ ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน และศึกษาระดับสมรรถนtขององค์การในการดำเนินการโครงการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พพพ.) 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของโครงการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พพพ.) และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยกำหนดประสิทธิผลของโครงการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พพพ.) ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study)
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ประชาชนในพื้นที่เขตอำเภอวารินชำราบจังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 400 คน โดยสุ่มตัวอย่างตามสูตรของ Taro Yamane ซึ่ง เป็นผู้มีส่วนร่วมกับโครงการ โดยเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล (ส.อบต.) ประจำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน เป็นหัวหน้าครัวเรือน และประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม จำนวน 46 ข้อ ประกอบด้วย 6 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 ภูมิหลังบุคคล ส่วนที่ 2 ระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับโครงการ (พพพ.) ส่วนที่ 3 ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการ (พพพ.) ส่วนที่ 4 ระดับสมรรถนะขององค์การในการดำเนินโครงการ(พพพ.) ส่วนที่ 5 ประสิทธิผลของโครงการ (พพพ.) และส่วนที่ 6 ปัญหา อุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินโครงการ (พพพ.) โดยทดสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา (Content analysis) โดยใช้วิธี แอลฟ่า ครอนบาค (Cronbach'Alpha) ได้ค่าเที่ยง 0.61-0.76 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้กับโครงการ (พพพ.) ในระดับปานกลาง ระดับการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการดำเนินโครงการ (พพพ.) ในระดับปานกลาง ระดับสมรรถนะขององค์การในการดำเนินโครงการ (พพพ.) ในระดับปานกลาง และระดับประสิทธิผลของการดำเนินโครงการ (พพพ.) ในระดับปานกลาง ส่วนปัญหาและอุปสรรค ได้แก่ งบประมาณที่รัฐบาลจัดสรรให้ไม่เพียงพอประชาชนยังไม่ เข้าใจบทบาท หน้าที่ของตนเอง ทำให้การดำเนินโครงการ (พพพ.) เกิดความล่าช้าและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร และ ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณให้เพียงพอกับความต้องการ ควรมีการจัดการอบรมให้ความรู้แก่คณะกรรมการ และประชาชน ด้านบทบาทหน้าที่ของตนเองและระเบียบข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินโครงการ (พพพ.) และเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับโครงการ (พพพ.) ได้ ส่วนการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ ในด้านต่าง ๆ พบว่า ภูมิหลังบุคคล ด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา หน้าที่หรือบทบาทในชุมชน รายได้ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินโครงการ (พพพ.) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ส่วนด้านลักษณะของโครงการไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดำเนินโครงการ
(พพพ.) ระดับ ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโครงการ (พพพ.) (r 0.733) P-value< 0.05 (P-value =0.001) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินโครงการ (พพพ.) มีกับประสิทธิผลของโครงการ (พพพ.) (r 0.095) P < 0.05 (P = 0.059) สมรรถนะขององค์การในการดำเนินโครงการ (พพพ.) มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของโครงการ (พพพ.) (r 0.284)
P-value < 0.05 (P-value =0.001) ดังนั้น ปัจจัยกำหนดประสิทธิผลโครงการ (พพพ.) ได้แก่ ภูมิหลังบุคคล ระดับความรู้ความเข้าใจของประชาชน ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน สมรรถนะขององค์การในการดำเนินโครงการพัฒนาหมู่บ้านชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (พพพ.)

Title Alternate Factors determining the effectiveness of development village community based on the sufficiency economy philosophy project: Amphur Warinchamrab, Ubonratchathani Province
Fulltext: