Title | การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี |
Publication Type | วิทยานิพนธ์/Thesis |
Year of Publication | 2567 |
Authors | ทองแสง, ชลธาร |
Degree | สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ |
Institution | วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี |
City | อุบลราชธานี |
Keywords | การดูแลตนเองของผู้ป่วย, การดูแลผู้ป่วย, ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้, โรคความดันโลหิตสูง |
Abstract | การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนากระบวนการประกอบด้วย 1) ตัวแทนผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ 13 คน 2) ตัวแทนญาติผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ 13 คน 3) ผู้นำชุมชน 6 คน 4) ตัวแทนสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 1 คน 5) ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 6 คน (ที่ดูแลผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้) 6) ตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข 2 คน รวม 41 คน โดยการประยุกต์ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของ Kemmis และ McTaggart ประกอบด้วยการวางแผน (Planning: P) การปฏิบัติการ (Action: A) การสังเกตการณ์ (Observation: O) และการสะท้อนกลับ (Reflection: R) จำนวน 2 วงรอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 201 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 20 สัปดาห์ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2566 ถึง พฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการรวบรวม จัดหมวดหมู่วิเคราะห์เนื้อหา และเปรียบเทียบผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยใช้สถิติ paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี คือ KPSCC Model ประกอบด้วย 1) การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ (Knowledge Enhancement) 2) ส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ ดี (Promotion of Healthy Behaviors) 3) สร้างความเข้มแข็งให้ระบบบริการสุขภาพ (Strengthening Healthcare Services) 4) สร้างความร่วมมือ (Collaboration) 5) ตรวจสอบและปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง (Continuous Monitoring and Improvement) และหลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีผลต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้โอกาสเสี่ยงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้ประโยชน์ในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง การรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ในการปรับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ ตำบลบุ่งมะแลง อำเภอสว่างวีระวงศ์ จังหวัดอุบลราชธานี ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ |
Title Alternate | Development of a self-care model for uncontrolled hypertensive patients in Bung Malang subdistrict, Sawang Wirawong district, Ubon Ratchathani province |