ประสิทธิผลของโปรแกรม ‘SMART TEETH’ ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองศรีสะเกษ

Titleประสิทธิผลของโปรแกรม ‘SMART TEETH’ ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองศรีสะเกษ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2567
Authorsสมใจ, กานต์ชนก
Degreeสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต--สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
Institutionวิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Keywordsการดูแลสุขภาพ, สุขภาพช่องปาก, โปรแกรมทันตสุขภาพ
Abstract

การวิจัยแบบกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม 'SMART TEETH' ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดเทศบาลเมืองศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 72 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 36 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 36 คน โดยกลุ่มทดลองจะได้รับโปรแกรม SMART TEETH เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ประกอบด้วยการบรรยาย สาธิต ฝึกปฏิบัติ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในกลุ่ม ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบจะได้รับทันตสุขศึกษาตามปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างภายในกลุ่มด้วยสถิติ Paired Sample t-test และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วยสถิติ ANCOVA ผลการวิจัย พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปาก (mean diff = 6.59, ร้อยละ 95 CI = 2.51-10.66) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก (mean diff = 2.89, ร้อยละ 95 CI = 1.60-4.18) มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคะแนนเฉลี่ยปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ (mean diff = 2.29, ร้อยละ 95 Cl = 2.13-2.45) และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (mean diff = 61.57, ร้อยละ 95 CI = 57.63-65.52) น้อยกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ เมื่อควบคุมอิทธิพลความแปรปรวน พบว่า คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพช่องปากกลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (mean diff = -0.72, ร้อยละ 95 Cl = -5.25-3.84) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (mean diff = 1.44, ร้อยละ 95 CI = 0.12-2.76) ปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ (mean diff = 0.92, ร้อยละ 95 CI = 0.58-1.26) และคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปาก (mean diff = 7.00, ร้อยละ 95 Cl = 2.90-11.11) กลุ่มทดลองน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น โปรแกรม SMART TEETH ช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากตนเองสามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันจนเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก และเห็นความสำคัญในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเอง แต่ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพช่องปากจากแหล่งอื่น ๆ ได้ อย่างไรก็ตามผู้ปกครอง คุณครูควรมีการติดตามพฤติกรรมของนักเรียนในระยะยาว และโรงเรียนควรสนับสนุนแหล่งการเรียนรู้สุขภาพช่องปากที่หลากหลาย เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และเข้าถึงระบบบริการสุขภาพช่องปากได้มากยิ่งขึ้น

Title Alternate Effectiveness of ‘smart teeth’ program on oral health literacy, oral health care behaviors and oral health quality of life among elementary school students of schools under the Si Sa Ket provincial municipality