สถานการณ์การผลิตการใช้ประโยชน์การวิจัยและแนวทางในการวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพของฟ้าทะลายโจรในประเทศไทย

Titleสถานการณ์การผลิตการใช้ประโยชน์การวิจัยและแนวทางในการวิจัยเพื่อเพิ่มคุณภาพของฟ้าทะลายโจรในประเทศไทย
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2547
Authorsพรพิมล สุริยภัทร, วสุ อมฤตสุทธิ์, รักเกียรติ แสนประเสริฐ, นพมาศ นามแดง
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
ISBN Number9745230138
Call NumberHD9019.H473T5 ร451
Keywordsฟ้าทะลายโจร, สมุนไพร, อุตสาหกรรมสมุนไพร
Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นที่การเพาะปลูก วิธีการผลิต ต้นทุนผลตอบแทนการตลาด ปัญหาอุปสรรคในการผลิต และในการนำฟ้าทะลายโจรไปใช้ในอุตสาหกรรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างโจทย์วิจัยในการแก้ไขปัญหาการผลิต และคุณภาพของฟ้าทะลายโจรในประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า แหล่งผลิตฟ้าทะลายโจรที่สำคัญของประเทศไทยอยู่ในบริเวณจังหวัดนครปฐม ราชบุรี สระแก้ว และปราจีนบุรี มีการเพาะปลูกฟ้าทะลายโจร แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบอินทรีย์ แบบธรรมชาติ และแบบธรรมดา การผลิตแบบอินทรีย์มีพื้นที่การปลูกขนาดเล็กประมาณ 0.50 ไร่ ทำการปลูกตามสัญญา หรือข้อตกลง และมีการประกันราคา มีการเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวได้ตามมาตรฐาน ปัญหาอุปสรรคในการนำฟ้าทะลายโจรไปใช้ในอุตสาหกรรม ได้แก่ การเก็บเกี่ยว และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวที่ไม่ถูกต้อง ทำให้เป็นผลเสียจ่อคุณภาพของฟ้าทะลายโจร