การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้แดงอุบลและศึกษาการเจริญเติบโตของต้นอ่อนในโรงเรือน

Titleการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อกล้วยไม้แดงอุบลและศึกษาการเจริญเติบโตของต้นอ่อนในโรงเรือน
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2545
Authorsกาญจนา รุ่งรัชกานนท์, ศรีประไพ ธรรมแสง, วรงค์ นัยวินิจ, ภาคภูมิ สืบนุการณ์, อุทัย อันพิมพ์
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSB378.B2 ร451
Keywordsกล้วยไม้--การปลูก, กล้วยไม้--การเลี้ยง, กล้วยไม้แดงอุบล, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช
Abstract

การเพาะเลี้ยงใบอ่อนกล้วยไม้อุบล ได้นำต้นกล้าจากการเพาะเมล็ดในสภาพปลอดเชื้อซึ่งมีใบอ่อนยาวประมาณ 1-2 ซม. มาทำการศึกษาโดยแยกเป็น 3 การทดลอง คือ ศึกษาส่วนของใบอ่อนและวิธีวางชิ้นส่วนใบอ่อนบนอาหารเพื่อชักนำการเพิ่มปริมาณเนื้อเยื่อ ใบอ่อนที่ศึกษาจะถูกตัดเป็น 2 ส่วนตามขวางของทางยาวใบได้ส่วนโคนใบและส่วนปลายใบ นำชิ้นส่วนใบอ่อนวางบนอาหาร 2 วิธี คือ แบบปักลงในอาหารและแบบนอนบนอาหาร หลังจากการเพาะเลี้ยง 3 เดือน พบว่า การใช้โคนใบอ่อนวางนอนบนอาหารเป็นวิธีที่เหมาะสมในการชักนำการเพิ่มปริมาณเนื้อเยื่อ โดยชิ้นส่วนที่เลี้ยงมีการรอดชีวิต 100% มีการพัฒนาเป็นต้นอ่อน 18% ยอด 29% หลายยอด 18% แคลลัส 20% และโปรโตคอร์มร่วมกับแคลลัส 3%
การศึกษาการเจริญเติบโตของกล้วยไม้แดงอุบล ได้แบ่งการทดลองเป็น 4 การทดลองย่อย ได้แก่ 1.ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับลูกกล้วยไม้ พบว่า ลูกกล้วยไม้เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในออสมันด้า 2.ศึกษาวัสดุปลูกที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้แดงอุบล พบว่า เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในดินร่วนผสมใบไม้ผุในอัตรา 1:2 3.ศึกษาชนิดและอัตราปุ๋ยที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้แดงอุบล พบว่า ปุ๋ยสูตร 15:30:15 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร สัปดาห์ละครั้งให้ผลดีที่สุด 4.ศึกษาปริมาณแสงที่เหมาะสมสำหรับกล้วยไม้แดงอุบล พบว่า แสงไม่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของกล้วยไม้แต่อย่างใด

Title Alternate Studies on micropropagation and seeding growth in greenhouse of doritis pulcherrima var. buyssoniana