การเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวและการล้มในผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ

Titleการเปรียบเทียบความสามารถในการทรงตัวและการล้มในผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2551
Authorsเยาวราภรณ์ จารุจิตร
Degreeวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต -- สาขาวิชาการบริหารบริการสุขภาพ
Institutionคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberRA ย545
Keywordsการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ, ผู้สูงอายุ--การดำเนินชีวิต, ผู้สูงอายุ--สุขภาพและอนามัย
Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง (Cross-sectional study) เพื่อศึกษาผลของการออกกำลังกายต่อความสามารถในการทรงตัว (balance) อุบัติเหตุของการล้ม (incidence of fall) ผลสืบเนื่องจากการล้ม (consequences of fall) และคุณภาพชีวิต (quality of life) เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มผู้สูงอายุที่ออกกำลังกายและไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ อาสาสมัครเป็นผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ อายุระหว่าง 60 75 ปี เพศชายและเพศหญิง เพศชายและเพศหญิง (n=120) ที่สนใจเข้าร่วมการวิจัยเป็น 2 กลุ่ม โดย กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำ (n=60)แบ่งเป็นเพศชาย 8 คนเพศหญิง 52 คน
ซึ่งออกกำลังกายเป็นประจำอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งไม่น้อยกว่า 30 นาที กลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ (n=60) แบ่งเป็นชาย 10 คน เพศหญิง 50 คน โดยไม่มีการออกกำลังกายหรือออกกำลังกายน้อยกว่าเกณฑ์ข้างต้น โดยทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกันด้านอายุ ส่วนสูง น้ำหนักและดัชนีมวลกาย ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง อุบัติการณ์การล้มและผลสืบเนื้องจากการล้มในรอบ 6 เดือน ที่ผ่านมารวบรวมโดยใช้แบบสัมภาษณ์ การทรงตัววัดโดยวิธีการทดสอบการทรงตัวของเบิร์ก (Berg Balance Scale) และวิธี Timed Up and Go Test (TUGT) ส่วนคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครในรอบ 1 เดือน ประเมินโดยการใช้แบบทดสอบวัดคุณภาพชีวิต WHOQOL-BREF-THAI
ผลการวิจัยพบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีความสามารถในการทรงตัวดีกว่ากลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีค่าคะแนนการทรงตัวของเบิร์กเท่ากับ 55.20 +-0.81 และ 52.90 +-2.27 ตามลำดับ (p<0.001) และเวลาเฉลี่ย TUTG มีค่าเท่ากับ 8.22 +-1.35 และ 12.65+-2.65 วินาที ตามลำดับ (p<0.0001) เมื่อเก็บข้อมูลอุบัติการณ์การล้้มของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม พบว่า กลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีอุบัติการณ์การล้มน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ (ร้อยละ 13.3 และ 30.0) และเมื่อเกิดการล้มแล้วอาสาสมัคนกลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีผลสืบเนื่องจากการล้มน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทั่งในด้านการบาดเจ็บทางกายและการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน เมื่อสอบถามคุณภาพชีวิตของอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม พบว่า กลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีคะแนนคุณภาพชีวิตดีกว่ากลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ โดยมีคะแนนคุณภาพชีวิตเท่ากับ 99.37+-12.77 และ 93.68+-14.02 ตามลำดับ (p<0.05) และเมื่อพิจารณาในองค์กระกอบของคุณภาพชีวิต พบว่า อาสาสมัครกลุ่มที่ออกกำลังกายเป็นประจำมีคุณภาพชีวิตในองค์ประกอบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพกาย และด้านสิ่งแวดล้อม ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ออกกำลังกายเป็นประจำอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05, และ p=0.001)
จากผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถพัฒนาการทรงตัวของอาสาสมัคนให้ดีขึ้น ส่งผลให้อาสาสมัคมีความเชื่อมั่นในการทรงตัวทำให้อุบัติการณ์การล้มและผลสืบเนื่องจากการล้มลดลง โดยผลสืบเนื่องลดลงทำให้อาสาสมัคนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ด้วยตนเอง มีความคล่องตัวในการเคลื่อนย้ายตัวเอง เดินเอง โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยและสามารถเข้าร่วมกิจกรรมในสังคมได้ ส่งผลให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

Title Alternate Comparison of balance performance and incidence of fall between regularly and irregularly exercise elderly