การศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางเศรษฐกิจของเป็ดเทศและเป็ดพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสภาพการเลี้ยงแบบขัง

Titleการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะทางเศรษฐกิจของเป็ดเทศและเป็ดพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือในสภาพการเลี้ยงแบบขัง
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2544
Authorsกาญจนา บันสิทธิ์, ธีระพล บันสิทธิ์, วริษา สินทวีวรกุล, วิชาญ แก้วเลื่อน, นิภาพรรณ สิงห์ทองลา
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberSF505.S7 ร451
Keywordsคุณภาพซาก, พฤติกรรมไซ้อาหาร, เนื้อเป็ด, เป็ด--การเลี้ยง, เป็ดขังคอก, เป็ดพื้นเมือง, เป็ดเทศ
Abstract

การศึกษาการให้ผลผลิตของเป็ดเทศและเป็ดพื้นเมืองที่เลี้ยงขังคอก เปรียบเทียบระหว่าง เป็ดเทศท่าพระ (MD) เป็ดไข่พื้นเมืองจากภาคกลาง (PD) และเป็ดไข่พื้นเมืองจากภาคอีสาน (ND) ที่เลี้ยงด้วยสูตรอาหารเดียวกัน พบว่า เป็น MDเพศผู่และเมียมีนำ้หนักตัวเมื่ออายุ 12 สัปดาห์ เฉลี่ย 3,101.8 และ 2148 กรัม อัตราการเพิ่มน้ำหนักตัวสูงสุดของเป็ด MD ที่อายุ 6-8 สัปดาห์ เป็ดไข่พื้นเมืองที่อายุ 2-6 สัปดาห์ ผลจากการตัดแต่งซากของเป็ดเทศและเป็ดพื้นเมืองที่เลี้ยงในสภาพขังคอก เฉพาะเพศผู้ที่อายุ 12 สัปดาห์ พบว่า ซากถอนขนของเป็ด MD เป็ด PD และเป็น ND มีค่าเท่ากับ 89.3 87.9 และ 90.6 เปอร์เซ็นของน้ำหนักมีชีวิตตามลำดับ เป็ดPD และเป็ด ND ให้ผลผลิตไข่ไม่ต่างกันทางสถิติ โดยขนาดฟองไข่ของเป็ด MD ใหญ่กว่าไข่เป็ด PD และเป็ด ND แต่มีสัดส่วนขนาดไข่แดงน้อยกว่า

Title Alternate Comparative study on economic traits of Muscovy duck and Thai native common duck reared indoors in Northeast of Thailand