คุณภาพซากสุกรขุนจากระบบเลี้ยงแบบปล่อยแปลง

Titleคุณภาพซากสุกรขุนจากระบบเลี้ยงแบบปล่อยแปลง
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2543
Authorsธีระพล บันสิทธิ์, วัชรพงษ์ วัฒนกูล, กาญจนา บันสิทธิ์, อินทร์ ศาลางาม
Institutionคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
ISBN Number9749541251
Call NumberSF396.5 ค629
Keywordsการเลี้ยงปล่อยแปลง, คุณภาพซาก, คุณภาพเนื้อ, สุกร--การเลี้ยง, สุกรขุน, อวัยวะภายในสุกร
Abstract

ผลจากการศึกษาด้านซากพบว่าผลผลิตซากโดยรวมของสุกรขุนที่ผ่านการเลี้ยงจากสองรูปแบบให้ผลที่ไม่แตกต่างกัน ทั้งการตัดแต่งแบบไทยและการตัดแต่งแบบสากล โดยในการตัดแต่งแบบไทยสุกรขุนกลุ่ม T1 ให้ซากที่มีสัดส่วยของเนื้อแดงเท่ากับ 46.8% ในขณะที่กลุ่ม T2 ให้ค่าเท่ากับ 45.43% (P>0.05) แต่ใในสัดส่วนของกระดูกทั่วไปพบความแตกต่างทางสถิติ (P>0.05) โดยซากจากสุกรขุนกลุ่ม T2 มีในปริมาณที่มากกว่ากลุ่ม T1 ซึ่งบ่งบอกถึงการพัฒนาของกระดูกที่แตกต่างกัน สำหรับค่าผลผลิตซากจากการตัดแต่งแบบสากลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ คือ ค่าร้อยละของส่วนตัดสี่ส่วนจากซากในสุกรกลุ่ม T1 มีค่าเท่ากับ 65.57% ซึ่งใกล้เคียงกับกลุ่ม T2 (65.75%) ค่าดังกล่าวไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ แต่ในส่วนตัด Boston Butt จากซากสุกรขุนกลุ่ม T1 มีปริมาณที่ต่ำกว่า T2(P<0.05) สำหรับคุณภาพทางการบริโภค พบว่า ความนุ่มของกล้ามเนื้อขาสะโพกส่วน Bottom ของสุกรกลุ่ม T1 ให้ค่าที่ดีกว่า T2 (P<0.01) ในขณะที่ค่าความนุ่มของกล้ามเนื้อส่วน Longissimus dorsi ไม่มีความแตกต่างกัน ค่าลักษณะสีของเนื้อพบว่า มีความแตกต่างในค่า L* โดยสุกรกลุ่ม T1 ให้ค่า L* ที่ต่ำกว่ากลุ่ม T2 (P<0.05) ในขณะที่ค่า a* และ b* ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเลี้ยงสุกรขุนแบบปลดปล่อยแปลงสามารถให้ผลผลิตเทียบเท่าการเลี้ยงสุกรแบบขังคอกในโรงเรือน

Title Alternate A study on carcass quality in outdoor pigs