Abstract | จากการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของข้าราชการในค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี พบว่ามีผู้สูบบุหรี่จำนวนมากยังเป็นปัญหาในการพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการทหารในสังกัดกองทัพบก อันเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษา ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การรับรู้สุขภาพและความต้องการเลิกบุหรี่ของข้าราชการทหาร งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และความต้องการเลิกบุหรี่ของข้าราชการในค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้ทฤษฎีกรีนและกรูเตอร์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการทหารในค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จำนวน 288 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถาม วัดความรู้ ทัศนคติ ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมที่มีผลต่อการสูบบุหรี่ เก็บแบบสอบถามในระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ.2548 แบบสอบถามได้ผ่านการทดสอบความเชื่อมั่น ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาช (Cronbach]s Alpha coefficient) 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและทดสอบความสัมพันธ์โดยใช้สถิติ T-test และ chi-square
ผลการศึกษาพบว่า ข้าราชการทหารในค่ายสรรพสิทธิประสงค์ส่วนใหญ่ มีอายุเฉลี่ย 41-50 ปี รายได้เฉลี่ย 110,000-200,000 บาทต่อปี มีการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษา อยู่ในตำแหน่งผู้ปฏิบัติงาน ระยะเวลาในการสูบบุหรี่ อยู่ในระหว่าง 1-10 ปี สาเหตุของการสูบบุหรี่ส่วนมากเกิดจาก อยากทดลอง สูบบุหรี่ทุกวันและสูบตั้งแต่ ครึ่ง ถึง สิบมวนต้อวัน และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มต้องการเลิกบุหรี่ (ร้อยละ 92) มากกกว่ากลุ่มไม่ต้องการเลิกบุหรี่ และผลการศึกษาปัจจัยนำเข้าความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม การรับรู้สุขภาพ สมาชิกในครอบครัว ปัจจัยเสริมและปัจจัยเอื้อ ทั้งสอง กลุ่มมีึวามรู้เกี่ยวกับบุหรี่น้อย (ตอบผิดมากคิดเป็นร้อยละ 92.8) อย่างไรก็ตาม ระดับการรับรู้ถึงอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพอยู่ในระดับสูงมากทั้งสองกลุ่ม (mean=3.90, mean=3.88) ในขณะที่ระดับทัศนคติและค่านิยมอยู่ในระดับปานกลาง (mean=2.86, mean=2.94 และ mean=2.82, mean=2.83 ตามลำดับ) อิทธิพลจากการสูบบุหรี่ของสมาชิกในครอบครัวมีผลต่อการสูบบุหรี่ต่อตัวบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลคุณลักษณะส่วนบุคคล ความรู้ ทัศนคติ ปัจจัยนำเข้า ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม ระหว่างกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการเลิกและไม่ต้องการเลิกบุหรี่ พบว่า ทั้งสองกลุ่มตัวอย่างไม่มีความแตกต่างกันในข้อมูลและปัจจัยใดเลย ทั้งนี้เพราะ ลักษณะตัวแปรศึกษาทางประชากรของทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกัน และมีความรู้เกี่ยวกับบุหรี่และการสูบบุหรี่ด้วยคะแนนที่ต่ำเช่นเดียวกัน อีกทั้งการรับรู้ด้านสุขภาพก็คล้ายคลึงกัน คือ ไม่เพียงพอที่จะทำให้เลิกสูบบุหรี่ แต่ทั้งสองกลุ่มมีความเห็นตรงกันว่า หากมีความตั้งใจแน่วแน่และมีจิตใจที่เข้มแข็งจะสามารถทำให้เลิกบุหรี่ได้ ส่วนความคิดเห็นด้านทัศนคติ พบว่า การรณรงค์เพื่อเลิกบุหรี่เป็นวิธีที่ควรนำมาใช้มากกว่าการบังคับให้เลิก โดยมีค่าคะแนนอยู่ในระดับวูงมากทั้งสองกลุ่ม (mean=4.09, mean=4.03) และโดยรวมมีความเห็นว่าการสูบบุหรี่มักเกิดตามสถานเริงรมย์ในเวลากลางคืน จึงเห็นควรสร้างค่านิยมลดการเที่ยวกลางคืนในกลุ่มข้าราชการทหาร จากการศึกษาด้านปัจจัยเสริม พบว่า ข้าราชการทหารเคยได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับกฏระเบียบของโรงพยาบาลในการห้ามสูบบุหรี่อยู่ในระดับสูงมาก ซึ่งน่าจะได้นำไปใช้เป็นกฏระเบียบห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่ทำงาน และเมื่อพิจารณาปัจจัยเอื้อ พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความเห็นตรงกันว่า การมีเวลาว่างจากการปฏิบัติงานประจำเป็นเหตุให้มีการสูบบุหรี่มากขึ้น ดังนั้น การจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพหรือออกกำลังกายในช่วงว่างจากการทำงานน่าจะเหมาะสมในการรณรงค์ให้ข้าราชการทหารลดหรือเลิกสูบบุหรี่ได้
|