การศึกษาปัญหา การออกแบบ และ การปรับปรุงการใช้งานเตาเผาชีวมวล สำหรับเครื่องปั้นดินเผาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (กรณีศึกษา เตาเผาเครื่องปั้นดินเผา ตำบลปากห้วยวังนอง จังหวัดอุบลราชธานี)

Titleการศึกษาปัญหา การออกแบบ และ การปรับปรุงการใช้งานเตาเผาชีวมวล สำหรับเครื่องปั้นดินเผาให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น (กรณีศึกษา เตาเผาเครื่องปั้นดินเผา ตำบลปากห้วยวังนอง จังหวัดอุบลราชธานี)
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2550
Authorsกุลเชษฐ์ เพียรทอง
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTP841 ก725
Keywordsก๊าซชีวภาพ, อุตสาหกรรมชนบท, เครื่องปั้นดินเผา--การผลิต, เตาเผา--การออกแบบ, เตาเผา--อุบลราชธานี
Abstract

ผลการเก็บข้อมูลพบว่า ผู้ประกอบการแทบทุกราย เผาครก ที่อุณหภูมิในเตาเผาสูงเกินความจำเป็น (มากกว่า 1000 องศาเซลเซียส) ทำให้สิ้นเปลืองพลังงาน หรือ ทำให้ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาเผาต่ำกว่าที่ควรจะเป็น คือ อยู่ระหว่าง 8-11% และปริมาณของเสียเฉลี่ยประมาณ 15-20% และในแผนวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาพฤติกรรมการไหลของอากาศร้อนในเตาเผาครก โดยใช้การคำนวณเชิงตัวเลขของอากาศพลศาสตร์ที่เงื่อนไขการไหลในสภาวะต่าง ๆ กับเตาเผารูปทรงต่าง ๆ ต่อการตัดสินใจเพื่อนำมาสร้างเป็นเตาต้นแบบ จากนั้นทำการออกแบบเตาต้นแบบ 3 หลัง โดยยึดหลักการออกแบบเตาเผาชีวมวล ผลการศึกษาจาก CFD และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้งานจริง แล้วสร้างเตาต้นแบบ 3 หลัง ที่บ้านผู้ประกอบการ 3 ราย ที่ให้ความร่วมมือในการศึกษาทำการทดสอบเตาต้นแบบ 3 ครั้ง เพื่อดูผลด้าน ประสิทธิภาพเชิงความร้อน ปริมาณของเสีย และ การใช้งานจริง ผลการทดสอบพบว่า ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาต้นแบบ อุบล-1 คือ 12.66% ในขณะที่เตาอุบล-2 และอุบล-3 มีประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตา ต้นแบบ อุบล-1 คือ 12.66% ในขณะที่เตาอุบล-2 และ อุบล-3 มีประสิทธิภาพเชิงความร้อน เฉลี่ยที่ 14.11% และ 16.90 ตามลำดับ ส่วนปริมาณของเสียของเตาต้นแบบทั้งสามหลัง สามารถลดลงเหลือประมาณ 10-15% และสามารถลดระยะเวลาในการผลิตได้ประมาณ 0.5-1 วัน หากผู้ประกอบการนำเตาต้นแบบที่วิจัยได้นี้ไปใช้อย่างกว้างขวางก็สามารถลดการใช้พลังงานและเพิ่มผลผลิตได้

Title Alternate Problem investigation, design, and validation for higher efficiency fired clay biomass kiln (Case study of Pak Huay Wang Nong, Ubon Ratchathani)