การศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาการดำรงตำแหน่งผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ของข้าราชการและพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Titleการศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาการดำรงตำแหน่งผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ของข้าราชการและพนักงานสายสนับสนุนวิชาการในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2551
Authorsรัชชนนท์ แกะมา
Institutionมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberJQ1746.Z2 ร323
Keywordsการพิจารณาการดำรงตำแหน่ง, ข้าราชการ, ข้าราชการ--ตำแหน่ง, ข้าราชการพลเรือน--การจำแนกตำแหน่ง, ผู้ชำนาญการ, ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ, พนักงานสายสนับสนุน
Abstract

การวัดความคิดเห็นเชิงคุณภาพ พบว่า การมีกรอบตำแหน่งทางวิชาการสายสนับสนุนวิชาการ บ่งชี้ให้เห็นถึงความรู้ความสามารถทางวิชาการของบุคลากรอย่างแท้จริง อันจะนำไปสู่ความยั่งยืนของมหาวิทยาลัย ในทางตรงกันข้ามหากมีตำแหน่งวิชาการ โดยขาดคุณภาพดังเช่นเป็นอยู่ในปัจจุบันก็จะส่งผลลบโดยตรงต่อมหาวิทยาลัยเช่นกัน และการจำกัดจำนวน ผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ถือเป็นการจำกัดความสามารถของคนเก่ง คนดี และมหาวิทยาลัยจะเสียโอกาสใช้ประโยชน์จากคนที่มีความรู้ความสามารถอย่างแท้จริง ถ้าไม่จำกัดจำนวน มหาวิทยาลัยจะได้ประโยชน์มากกว่า ถ้ามีผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการทำงานอยู่ในมาตรฐานของตำแหน่งที่ตัวเองครองอยู่ ผู้วิจัยเห็นว่าสิ่งที่มหาวิทยาลัยควรดำเนินการและแก้ไขโดยเร่งด่วน คือ ความไม่มีคุณภาพของผู้ครองตำแหน่งเป็นอันดับแรกและควบคุมคุณภาพของผู้ชำนาญการ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ให้เป็นไปตามมาตรฐานขั้นต่ำของเกณฑ์ พร้อมมีการติดตามผลการปฏิบัติงานว่ามีความต่อเนื่องหรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์และมาตรฐานควรมีมาตรการอย่างใดในการแก้ไขปัญหา

Title Alternate Promotion criteria at Ubon Ratchathanee University :\bA survey of full and part time support staff and contract employees