ครุมรรคา : การศึกษาขนบการใช้ภาพพจน์และสัญลักษณ์ในวรรณคดีร้อยกรองเขมรสมัยหลังเมืองพระนคร

Titleครุมรรคา : การศึกษาขนบการใช้ภาพพจน์และสัญลักษณ์ในวรรณคดีร้อยกรองเขมรสมัยหลังเมืองพระนคร
Publication Typeงานวิจัย/Research report
Year of Publication2550
Authorsชาญชัย คงเพียรธรรม
Institutionคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberPL4328.8 ช485
Keywordsกวีนิพนธ์--เขมร, ภาษาเขมร--ภาพพจน์, วรรณคดีเขมร, วรรณคดีเขมร--ประวัติและวิจารณ์
Abstract

ผลการวิจัยสรุปได้ว่า ในวรรณคดีเขมรนิยมใช้ภาพพจน์อุปมามากเป็นอันดับแรก บทชมโฉมเป็นเป็นบทอุปมาที่มีลักษณะเด่นที่สุด ทั้งนี้เนื่องจากการชมความงามของตัวละครอย่างพิศดารเป็นการเสริมคุณลักษณะทางด้านรูปสมบัติของตัวละครเอกให้เด่นชัด การชมความงามของตัวละครนี้มีทั้งที่ได้รับอิทธิพลจากวรรณคดีสันสกฤต มีทั้งลักษณะที่ร่วมกับวรรณคดีไทยสมัยอยุธยา และมีลักษณะเฉพาะแบบที่เขมรสร้างขึ้น นอกจากนี้ยังพบอุปมาในลักษณะต่าง ๆ นอกเหนือจากบทชมความงาม เช่นกวีเขมรได้เปรียบเทียบความทุกข์หรือความโกรธว่าเปรียบเสมือนไฟเผาใจ เป็นต้น ลำดับที่ 2 เป็นภาพพจน์อุปลักษณ์ พบมาในคำเรียกตัวละคร เช่น เรียกตัวละครว่า มาศ แก้ว ตับ ฝั่งน้ำ ขวัญ เพื่อแสดงความรัก ความเทิดทูน ควรค่าแก่การถนอมรักษา นอกจากนี้ยังพบการใช้อุปลักษณ์ในลักษณะต่าง ๆ เช่น การเปรียบคำพูดที่ไพเราะ มีสารัตถะว่าเป็นน้ำผึ้ง เป็นต้น ลำดับที่ 3 เป็นภาพพจน์อติพจน์ใช้เพื่อต้องการบอกถึงสิ่งที่มีปริมาณมาก ลำดับที่ 4 เป็นภาพพจน์บุคคลวัด กวีใช้ภาพธรรมชาติที่ผิดสามัญแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร และใช้ธรรมชาติในฐานะผู้ส่งสาร ลำดับที่ 5 เป็นภาพพจน์นามนัย กวีใช้ตับ ปอด น้ำดีแทนร่างกายหรือชีวิต และการใช้ท้องหรือกระเพาะแทนร่างกายหรือชีวิต ลำดับที่ 6 เป็นภาพพจน์การอ้างถึงพบว่าในวรรณคดีเขมร มีการอ้างถึงความเป็นโพธิสัตว์ ผู้ที่จะมาเกิดเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต และการอ้างถึงเทพเจ้าต่าง ๆ ทั้งฝ่ายพุทธและพราหมณ์