การกำจัดตะกั่วออกจากน้ำเสียโดยใช้เปลือกกล้วย

Titleการกำจัดตะกั่วออกจากน้ำเสียโดยใช้เปลือกกล้วย
Publication Typeวิทยานิพนธ์/Thesis
Year of Publication2549
Authorsจรรยาพร ไชยวิเศษ
Degreeวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Institutionคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
Cityอุบลราชธานี
Call NumberTD จ151ก
Keywordsตะกั่ว--การเจือปนและตรวจสอบ, น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดตะกั่ว, น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดโลหะหนัก, น้ำเสีย--การบำบัด--การดูดซับ, มลพิษทางน้ำ
Abstract

การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของเปลือกกล้วยในการกำจัดตะกั่ววาเลนซี่ +2 ในน้ำเสีย เปลือกกล้วยที่นำมาศึกษามี 3 แบบ คือ แบบที่หนึ่งเป็นเปลือกกล้วยดิบ แบบที่สองเป็นแบบเปลือกกล้วยอบแห้งยาว 2.5 เซนติเมตร แบบที่สามเป็นเปลือกกล้วยแบบอบแห้งบดละเอียด รูปแบบของการทดลองเป็นแบบกะ (batch study) การศึกษาแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก ศึกษาหาปริมาณที่เหมาะสมของเปลือกกล้วยทั้ง 3 แบบ เพื่อนำมาใช้ในการกำจัดตะกั่วที่มีความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อลิตร ขั้นที่สองเป็นการศึกษาประสิทธิภาพที่ระดับพีเอช และระยะเวลาสัมผัสต่าง ๆ เพื่อหาสภาวะที่เหมาะสมต่อการกำจัดตะกั่วของเปลือกกล้วยทั้ง 3 แบบ ผลการศึกษาพบว่า ปริมาณที่เหมาะสมของเปลือกกล้วยทั้ง 3 แบบ สำหรับการกำจัดตะกั่วที่มีความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมต่อลิตรในน้ำเสีย คือ ปริมาณ 150 กรัมต่อลิตร โดยมีประสิทธิภาพการกำจัดตะกั่วร้อยละ 85.92, 91.75, 95.88 ตามลำดับ สภาวะที่เหมาะสมของเปลือกกล้วยทั้งสามแบบสำหรับการกำจัดตะกั่ว คือ ระดับพีเอช 4 และระยะเวลาสัมผัส 60 นาที โดยประสิทธิภาพการกำจัดตะกั่วของกล้วยแบบอบแห้งบดละเอียด ให้ค่าประสิทธิภาพสูงที่สุด คือ ร้อยละ 98.12 ขณะที่แบบอบแห้งยาว 2.5 เซนติเมตร และแบบดิบให้ค่าประสิทธิภาพ การกำจัดร้อยละ 93.06 และ 95.2 ตามลำดับ

Title Alternate Lead (PB II) remomal from waste water by banana peel
Fulltext: